Page 272 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 272
จากการวิเคราะห์ตั้งแต่ที่มาของตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์และเนื้อความในเอกสารทำให้เห็นถึงความ
ื่
้
ลักลั่นคลาดเคลอนของข้อมูลค่อนข้างสูง การประพันธ์ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์อาจมีเคาโครงเก่าหรือไม่มีก็
ได้ แต่ก็นับว่าเป็นการประพันธ์ที่มีสำนวนโวหาร พรรณนาถึงบริบทของเมืองลับแลงไชยผ่านเหตุการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์ของแคว้น (รัฐ) สุโขทัย, ล้านนา และอยุธยา ตำนานมีขนบการเรียบเรียงโดยใช้จารีตอย่าง
“ค่าว” หรือร่าย ผสมกับคติการเขียนตำนานอย่างล้านนา จะเห็นได้ว่าผู้ประพันธ์คงมีการศึกษาหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์มาเรียบเรียงอย่างเป็นเนื้อความที่มีความน่าสนใจ สอดแทรกวิถีชีวิต ภูมิทัศน์เมือง ประเพณ ี
วัฒนธรรม ของท้องถิ่นลับแลไว้อย่างลึกซึ้ง
อนึ่งการประพันธ์ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์อาจเป็นวรรณกรรมเพื่อใช้ในการเทศนาประวัติความ
เป็นมาของเมืองลับแลในอีกรูปแบบหนึ่งของพระสงฆ์ผู้รจนา ที่มีความวิจิตรบรรจง ประณีตของสำนวนท ี่
สอดคล้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๒๒