Page 275 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 275
ตำนานเมืองลับแลจากพระครูสิมพลีคณานุยุติ ได้รวบรวมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ แล้วมีการจัดพิมพ์
รวบรวมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ถือเป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่ทรงคุณค่า มีภาพสะท้อนเกี่ยวกับชื่อบ้านนามเมือง วิถี
ิ
ั
ชีวิตของชาวลับแล ผ่านเรื่องเล่าและเรื่องแต่ง สอดแทรกเรื่องราวปาฏิหาริย์ทำให้น่าตดตาม อิงเรื่องชาวลบแล
เป็นชาวโยนกสิงหนวัติบุรีศรีเชียงแสน [เมืองในตำนานสิงหนวัติกุมาร จากการสืบค้นพบว่ามีฉบับใบลาน
ตำนานเมืองโยนกนครเชียงแสน ระบุจารปี พ.ศ. ๒๔๒๓ วัดเชียงมั่น เชียงใหม่ : ตรงกับช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕
ี
จากนั้นได้นำเนื้อความมาพิมพ์ใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ ประกอบด้วยพงศาวดารเมืองเงินยางเชยง
แสนและตำนานสิงหนวัติกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ จนเมื่อ อาจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้ชำระและจัดพิมพ์ในชอ
ื่
ุ
ตำนานสิงหนวติกมาร ฉบับสอบค้น พ.ศ. ๒๕๑๖] อพยพเข้ามาในพื้นที่ลับแล จนกระทั่งเป็นมายาคติเป็นท ี่
รับรู้และนิยมของชาวลับแลโดยทั่วไป แล้วส่งผลให้
ั
(๑) มีการดัดแปลงชำระศักราชอีกครั้งโดยนายสมปรารถน์ เสาวไพบูลย์ (อดีตนายอำเภอลบแลคนท ี่
๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗) จัดพิมพ์ไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูธรรมเนตรโสภณ
อดีตเจ้าอาวาสวัดท้องลับแล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยนำข้อมูลมาจากพระครูสิมพลีคณานุยุติแล้วได้ดำเนินการ
สร้างเหรียญที่ระลำเจ้าฟ้าฮ่ามเพื่อนำเงินสมทบทุนสร้างอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ที่เชิงม่อนอารักษ์ ตำบล
ฝายหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยที่แท่นจารึกประวัติเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารที่อนุสาวรีย์ฯ ได้ยึดถือข้อมูลตามที่นาย
สมปรารถน์ เสาวไพบูลย์ ได้ชำระขึ้น ซึ่งในการดำเนินการสร้างอนุสาวรีย์ฯ ยังมีผู้นำชุมชนคือ นายจำลอง
้
มาปุ้ง (กำนันตรุษ อายุ ๗๗ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ (วันที่ฉลองกำนันตรุษไดชก
มวยถวายด้วย)
(๒) นำมาสู่แรงบันดาลใจของทันตแพทย์ภัทรภูมินทร์ ชัยชมภู ที่ได้มาสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรม
ฝาผนังเล่าเรื่องเมืองลับแลตามตำนานภายในอุโบสถวัดท้องลับแล ตำบลฝายหลวง เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม -
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ใช้ระยะเวลาวาดราว ๔ เดือน
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๒๕