Page 279 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 279
๓. ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ วัดลับแลงหลวง
จากการสืบค้นที่มาของตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ โดยการให้ข้อมูลของนายดำรงค์ แสวงรุจิธรรม
อายุ ๗๘ ปี (เกิด พ.ศ. ๒๔๘๖) อดีตพนักงานธนาคารออมสิน (เป็นหลานของขุนแสวงรุจิธรรม น้องเขยพระศรี
้
พนมมาศ (ทองอิน)) ในวัยเยาว์เป็นโยมอุปัฏฐากใกลชิดพระครูธรรมฐิติวงษ์คีรีเขตร ได้ให้ข้อมูลว่า ราวปี พ.ศ.
๒๕๐๐ มีพระ ๕ เสือเมืองลับแลไปศึกษาที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ คือ
(๑) พระครูสิมพลีคณานุยุต (ปา) อนาวิละเถระ –อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งเอี้ยง,
(๒) มหาหลุย คำทิพย์ [มีภรรยาชื่อ นางยอด],
(๓) มหาแป้น,
(๔) พระวินัยธรจันทร์ จันทโน อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนชัย
(๕) พระครูสุวรรณวรวุฒิ (ทอง) ญาณทีโป) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนสัก
เมื่อใกล้จบได้ทำรายงานเพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา ๓ เรื่อง คือ
เรื่องที่ ๑ พระครูสิมพลีฯ (ปา) แต่งตำนานเมืองลับแล ฉบับพิสดาร โดยได้เค้าโครงจากการแตงเรื่อง
่
เจ้าฟ้าฮ่ามของนายมี ใจใหญ่ (ศิษย์ของพระครูฐิติวงษ์คีรีเขตร ไปใช้เอกสารประกอบการอ้างอิงขณะไปท ี่
หอสมุดที่กรุงเทพฯ ผนวกกับเรื่องเล่าท้องถิ่น)
เรื่องที่ ๒ พระวินัยธร (จันทร์) แต่งพุทธประวัติ
เรื่องที่ ๓ พระครูสุวรรณวรวุฒิ (ทอง) แต่งตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ โดยอาศัยเค้าโครงจากตำนาน
พระเจ้าเลียบโลก จารเป็นอักษรไทเหนือ โดยนายบัว ศรีน้อย และนายคำปา กุลศิริ แล้วมีการแปลเป็นไทโดย
ส. ธรรมภักดี
เรื่องที่ ๔ ประวัติพระบรมราชครูพุกแห่งวัดหัวดง
สำเร็จผ่าน ๒ เรื่อง คือ เรื่องที่ ๑ กับเรื่องที่ ๒ ส่วนเรื่องที่ ๓ พระครูธรรมเนตรฯ และนายสมศักดิ์ อุ่น
ึ
เจริญ (หมื่น) ครูใหญ่โรงเรียนวัดท้องลับแลอ่านพิจารณาไม่ให้ผ่าน เพราะมีเนื้อความซ้อนกับประวัติเดิม จงนำ
ฉบับที่เขียนเป็นสำนวนภาษาไทยใส่แฟ้มเอกสารเก็บไว้ในวัดท้องลับแล กระทั่งเมื่อพระครูธรรมเนตรฯ
ิ
มรณภาพ จึงมีดำริจะเลือกตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลงศพ
แต่นายสมศักดิ์ อุ่นเจริญ (หมื่น) ห้ามไว้เพราะกลัวจะเกิดความสับสนกับตำนานเมืองลับแลของพระครูสิมพลฯ
ี
์
ที่เป็นที่รับรู้ของชาวลับแลในขณะนั้น ส่วนเรื่องที่ ๔ ไม่ผ่านเนื่องจากใช้คำราชาศัพทมากเกินไปไม่เหมาะสมกับ
สมณเพศ
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๒๙