Page 622 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 622
ภาพที่ ๙๐ ทายธัมม์หมายเลข ๒๑ พละสังขยา ผก ๒ปรากฏคำว่า ด่าน,อ่าย
้
ู
ั
ที่มา:วัดท้องลับแล ตำบลฝายหลวง อำเภอลบแล, ๒๕๖๔
๖.๒.๑๓ โบราณสถานด่านเมืองลับแลง
จากการลงพื้นที่ตำบลนานกกกของผู้ศึกษาและคณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับ
แล (เมืองลับแลง) ได้พบแหล่งโบราณสถานที่บ้านชายเขาบก หมู่ที่ ๔ ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัด
อุตรดิตถ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งเรือนของพ่อขาปัน อยู่ทา บ้านเลขที่ ๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลนานกกกก อำเภอลับแล ซึ่ง
อยู่ติดกับห้วยชายเขา อีกส่วนตั้งอยู่ในสวนติดกัน โดยเรียกว่าโบราณสถานนั้นว่า “ด่าน” เมื่อลงตรวจสอบ
พื้นที่ดังกล่าวพบเนินดนกว้างประมาณ ๒ เมตร และยาวประมาณ ๕๐ เมตร ซึ่งตามคำสัมภาษณ์ของนายปัน
ิ
อยู่ทา (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔)ให้ข้อมูลว่า เดิม แนวกำแพงด่าน มีความยาวประมาณ
๑๕๐ เมตร ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ เมตร (ตามภาพที่ ๘๗) เนื่องจากมีการตัดถนนผ่านกำแพงทำให้แนวกำแพง
ด่านโดยทำลาย ในส่วนของความสูงไม่สามารถบอกความสูงได้เนื่องจากแนวกำแพงพังทลายลงมาก แนวฐาน
ด่านมีแกนกลางเป็นดิน บริเวณเนินดินพบก้อนอิฐดินจี่ที่มีส่วนผสมของแกลบปะปนอยู่ ผู้ศึกษาและ
คณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแล (เมืองลับแลง) พบว่าความยาวของก้อนอิฐดินจี่มีลักษณะ
เหมือนกับดินจี่ในโบราณสถานวัดม่อนใหญ่ที่มีอายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ.๑๙๐๐-๒๐๐๐) แตมี
่
ความหนานเป็นพิเศษซึ่งหนาประมาณ ๗ เซนติเมตร กว้าง ๑๘ เซนติเมตร และยาว ๓๐ เซนติเมตร (ตามภาพ
ที่ ๘๘,๘๙,๙๐) นอกจากนั้นผู้ศึกษาและคณะกรรมการได้ข้อมูลจากสัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า แต่เดิมนั้นบริเวณด่าน
นี้เป็นที่ตั้งศาลปู่เจ้าด่านภายหลังมีการย้ายศาลไปตั้งยังบริเวณหลังโรงเรียนนานกกก (ตามภาพที่ ๙๑)
่
่
จากการพบแหล่งโบราณสถานดานดังกลาว ผู้ศึกษามีความคิดเห็นว่า ด่านนี้คือด่านของเมือง
ลับแล เพราะเนื่องจากตั้งอยู่พื้นที่ของอำเภอลับแล และเป็นเส้นทางโบราณสายหลักอีกเส้นหนึ่งที่จะไปบ้าน
่
้
ั
ด่านนาขาม ปางต้นผึ้ง และขึ้นเขาพลึง และเป็นด่านศุลกากรตรวจค้นการเขาออกเมือง และเป็นดานสำคญใน
้
ั
่
ิ
การป้องกันข้าศึกที่มารุกรานในเขตเมืองลับแลง ดังจะเห็นจากการก่อฐานดานเป็นแกนดินและก่อทบดวยดนจ ี่
ที่มีความหนาพิเศษอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนั้นที่ตั้งของด่านยังมีปราการธรรมชาตินั้นคือ ห้วยชายเขาบกที่ไหล
ผ่านหน้าที่ตั้งของด่าน (ตามภาพที่ ๙๖ และ ๙๗)
การศึกษาเปรียบเทียบสมมุติฐานเมืองซาก (ทราก) ฯ
หน้า ๑๓๖