Page 628 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 628
๓. ความหมายของคำว่า “ชาการาว,ชวาชกํ,ชคราว,สักเตาไชยยะ ในเอกสารประวัติศาสตร์
๓.๑ ผู้ศึกษาขอเสนอแนวคิดคำว่าเมือง “ชาการาว ชวาชกํ ” ที่ปรากฏในจารึกเขาสุมนกูฏ
ด้านที่ ๔ และจารึกวัดอโสการาม ด้านที่ ๒ คำว่า “ชคราว” ที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และคำว่า
“สักเตาไชยยะ” ที่ปรากฏในมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า เป็นรากศัพท์ของคำว่า “สระตราว”ในภาษาเขมร
โบราณซึ่งมีความหมายว่า แอ่งหนองน้ำขนาดใหญ่มีน้ำตลอดทั้งปี และมีความหมายเดียวกันกันกับคำว่า เมือง
ั
“สระหลวง” ซึ่งปัจจุบันคือที่ต้งของอำเภอลับแล(อันมีเมืองโบราณที่ทับซ้อนกันสองเมือง คือ เมืองทุ่งยั้งและ
เมืองลับแลง) โดยจารึกหลักที่ ๓๑๙ เจดีย์พิหาร ปรากฏคำว่า “ขพง ๑ นิมิเกาะ ๑ สร” อันเป็นหลักฐานยืนยัน
ว่าพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ได้มาสร้างพระมหาธาตุไว้เมืองสระหลวงตามปรากฏในหลักศิลาจารึกที่ ๘ เขา
สุมนกูฏ
๔. วิวัฒนาการของเมืองซาก (ชากังราว,ชาการาว,ชคราว,สักเตาไชยยะ) ในฐานะเมืองด่านสำคัญ
ของรัฐสยามกับรัฐล้านนา
ู้
๔.๑ ผศึกษาเสนอแนวคิดว่า เมืองซาก (ชากังราว,ชาการาว,ชคราว,สักเตาไชยยะ) เป็นเมือง
ที่พัฒนามาจากการเป็นด่านของรัฐสุโขทยตั้งสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ดังฐานหลักฐานจารึกหลกที่ ๓๑๙
ั
ั
เจดีย์พิหาร พบที่วัดเจดีย์คีรีวิหาร ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรากฏคำว่า “อาย” (อ่าย)
ซึ่งเป็นภาษาล้านนาที่แปลว่าด่าน และเป็นเมืองด่านท่ป้องกันภัยศึกสงครามดังที่จะเห็นจากการการพบคำใน
ี
จารึกเจดีย์พิหารคำว่า “อายธหรจฺคุดูผก” ซึ่งแปลว่า ด่านที่ไว้สำหรับให้ทหารไว้ดูสอดแนม
ี
ู้
๔.๒ ผศึกษาเสนอแนวคิดว่า เมืองซาก (ชากังราว,ชาการาว,ชคราว,สักเตาไชยยะ)ในอดต
เป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญนอกเหนือจากเป็นด่านแล้วยังถือเป็นชุมทางการค้าทั้งทางบกและทางน้ำท่มาจาก
ี
หลวงพระบางและจากลานนาลงสู่ลมแม่น้ำน่านก่อนจะลำเลียงล่องไปยังปากน้ำโพอันเป็นชุมทางการคาเหนือ
้
ุ่
้
ั้
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา อีกทงยังเป็นศูนย์ในการกระจายสินค้าของของสยามขึ้นไปยังรัฐล้านนาออกสู่หลวงพระบาง
ื
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริเวณพื้นที่เมืองลับแล เมืองอุตรดิตถ์ มีความเจริญก้าวหน้า ดังจะเห็นได้จากการมีช่อภูมิ
นามตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันที่บ่งบอกถึงจุดกระจายสินค้า นั้นคือ ท่าอิด (อิฐ) ท่าเสา
๔.๓ ผู้ศึกษาเสนอแนวคิดว่า เมืองลับแลง (อำเภอลับแล) มีความเป็นเมืองด่านสำคัญที่ชัดเจน
อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีเส้นทางสัญจรเชื่อมระหว่างรัฐสยามกับล้านนา (เส้นทางเขาพลึง) ดังจะเห็นจากการ
ปรากฏภูมินามของหมู่บ้านอาทิ บ้านด่าน (บ้านด่านนาขาม) การปรากฏภูมินามคำว่า “ปาง” อันมีความหมาย
ว่า ที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทาง อาทิ ปางอ้อ,ปางต้นผึ้ง หรือการมีด่านบก (ด่านแม่นางพูน) ซึ่งต่อมาการ
พัฒนาและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองด่านแม่นางพูน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และการปรากฏแหล่งโบราณสถานด่าน
เมืองลับแลงที่ตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อันเป็นหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัดว่า เมืองลับแลง
คือเมืองด่านและเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจของรัฐสยามตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน
การศึกษาเปรียบเทียบสมมุติฐานเมืองซาก (ทราก) ฯ
หน้า ๑๔๒