Page 847 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 847
ที่มา : พบที่ วัดม่อนปรางค์ ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ความสำคัญ : จากการสำรวจในพื้นที่อำเภอลับแล พบว่าธัมม์ลาวผูกนี้ เป็นลานธรรม์เพียงผูกเดียวที่พบในพื้นท ี่
เมืองลับแล ซึ่งอาจเป็นหลักฐานที่ไปสนับสนุนข้อมูลจากเอกสาร จดหมายเหตุรัชกาลที่สามที่ระบุถึงการมีการนำ
คนลาวเข้ามาไว้ในการดูแลของพระลับแลจำนวนทั้งสิ้น ๕๕ คน (ฉกรรจ์ ๑๔ คน และวัยอื่น ๔๑ คน รวม ๕๕) ซึ่ง
ั
้
ี่
้
ถือเป็นเพียงเอกสารฉบับเดียวที่บันทึกไว้อย่างชดเจนทสุด และยังปรากฏพบสถูปบรรจุกระดูกศิลปกรรมลานชางท ี่
วัดเดียวกันนี้อีกด้วย เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชาชนชาวลาวกลุ่มนี้ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า เนื่องจาก
้
้
จำนวนผู้คนที่ไม่มากนี่เองจึงทำให้วัฒนธรรมลาวลานชางถูกกลืนเข้ากับวัฒนธรรมลานนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมกระแส
้
หลัก คงเหลือให้เห็นร่องรอยวัฒนธรรมผ่านภาษาประเพณีและศิลปกรรมที่มีจำนวนน้อย
ผู้ค้นพบ : คณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแล (เมืองลับแลง)
พระลับแลในศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ และร่องรอย เชลยลาวพุงดำ ลาวพุงขาว ในสมัยรัชกาลที่ ๓
~ หน้า ๖๖ ~