Page 897 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 897
้
ใบลานวัดทองลับแล “ธัมม์สุวรรณปัญจชินาธาตุ”
ท้ายธรรมปรากฏความ “ลับแลง แสงตาวันส่อง”
อ่านปริวรรต : อหํนาบญตติฅรูสํงเจ้าชืว่าข้าวาอริญภิกขุยรปางเมิอยู่วัสรับแรงแสงตาวันสองแลแล
คำอ่าน : อหังปัญญัติครูสังฆเจ้าชื่อว่าข้าว่าอริญะภิกขุเขียนปางเมื่ออยู่วัดรับแรง(ลับแลง)แสงตาวันส่องแลแล
ที่มา : หมายเลข ๕๘ ธัมม์ สุวรรณปัญจชินาธาตุ
พบที่วัดท้องลับแล ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ไม่ปรากฏปี พ.ศ./จ.ศ.ที่จาร
ผู้จาร : อริญภิกขุ
ความสำคัญ : ปรากฏคำว่า ลับแลง แสงตะวันส่อง ซึ่งอาจเป็นนัยสื่อถึงความหมายของชื่อเมืองลับแลง ซึ่ง
ต่างออกไปจากความเข้าใจ ณ เวลาปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ ความเข้าใจในคำว่า ลับแลง ซึ่งเป็นภาษาล้านนา มีความหมายสอดคล้องหรือไปใน
ทิศทางเดียวกับความหมายของคำว่า ลับแล ในภาษาไทยสยาม ซึ่งหมายถึงความไม่ชัดเจน บังตา หรือยามเย็น
หากแต่เมื่อมีการค้นพบใบลานทเขียนระบุความ ลับแลง แสงตะวันส่อง ซึ่งความนี้หมายถึง เมืองลับแลงที่ไม ่
ี่
ขาดจากแสงอาทิตย์หรือความสว่าง ทำให้ต้องย้อนมาพิจารณาถึงอีกความหมายหนึ่งที่ตรงกันข้ามหรือ
ิ้
ต่างกันโดยสิ้นเชิง คำว่า ลับ อาจหมายถึงการดับหรือสูญสนไป แลง หมายถึงยามเย็น ความมืด ความไม่ชัดเจน
เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกัน อาจมีความหมายทสื่อถึงการดบเสียซึ่งความมืดความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือดบ
ี่
ั
ั
อวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งในอริยสัจสี่ ซึ่งคำว่า ลับแลง ที่ตีความตามนัยนี้ไปสอดคล้องกับคำว่า เชียงแก้ว (เมือง
แห่งพระรัตนตรัย แก้วสามประการอันประเสริฐ) ที่ปรากฏในศิลาจารึกเจดีย์พิหารพบที่วัดเจดีย์คีรีวิหาร
อำเภอลับแล และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับชื่อของเมืองโบราณในละแวกใกล้เคียงเช่น เมืองฝางสวางคบุรี
เมืองสวรรคโลก เมืองทรงยั้ง(ทุ่งยั้ง) เมืองสุโขทัย ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา ความสว่างแจ้ง โลก
สวรรค และความปิติสุขทั้งสิ้น
ผู้ค้นพบ : คณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแล (เมืองลับแลง)
ภาคผนวก ~ หน้า ๒๗ ~