Page 31 - ฟิสิกส์นิวเคลียร์
P. 31

30


               ใช้เก็บเชื้อเพลิงน้อย ท าให้เรือบรรทุกสินค้าได้มากและไม่จ าเป็นต้องแวะเติมเชื้อเพลิงบ่อย จึงสามารถน าเรือ

               เดินทางในทะเลได้เป็นเวลานาน
                       ในอนาคตโลกก าลังจะมีการใช้พลังงานนิวเคลียร?ในการขับเคลื่อนยานอวกาศ เนื่องจากระยะการ

               เดินทางในอวกาศนั้นไกล ยานอวกาศไม่สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงธรรมดาได้เพียงพอ จึงจ าเป็นต้องอาศัย

               พลังงานนิวเคลียร์แทน ใช้เชื้อเพลิงปริมาณน้อยกว่าท าให้ยานอสกาศไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงบ่อย
                       เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สามารถผลิตพลังงานได้ปริมาณมากจึงน าไปใช้ประโยชน์ได้มาก อีก

                                                     ื่
               ตัวอย่างหนึ่งคือ การกลั่นน้ าทะเลเป็นน้ าจืดเพอใช้ในสถานที่ริมทะเลที่ขาดแคลนน้ าจืดก็สามารถท าน้ าจืดใช้ได้

               โดยอาศัยความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาทาให้น้ าเค็มกลายเป็นไอ แล้วแยกเอาไอน้ าซึ่งเป็นน้ าจืด
               ออกจากเกลือ ปัจจุบันมีโรงผลิตน้ าจืดโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์อยู่หลายแห่งและใช้ได้ผลดี





                 20.8 รังสีในชีวิตประจ าวัน อันตรายจากรังสีและการป้องกัน

                       จากการศึกษากัมมันตภาพรังสีที่กล่าวมา ท าให้รู้ว่าการน าสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ

               ด้าน นอกจากประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับแล้ว ยังมีอันตรายจากรังสีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ เช่น มารี คูรี นักเคมและ
                                                                                                   ี
               ฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ผู้ค้นพบเรเดียมและพอโลเนียม เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับอันตรายจากรังสีจนเสียชีวิต
               เนื่องจากโรคูลคีเมีย เป็นผลจากการได้รับรังสีระหว่างศึกษาค้นคว้าธาตุดังกล่าว



                         20.8.1 รังสีในธรรมชาติ



                       ในธรรมชาติรอบตัวเรามีรังสีต่างๆ ที่มาจากแหล่งกาเนิดหลายแหล่ง เช่น รังสีจากนอกโลกเรียกว่า
               รังสีคอสมิก (cosmic rays) โดยแหล่งก าเนิดที่ใหญ่ที่สุดของรังสีนี้ คือ ดวงอาทิตย์ ส่วนรังสีที่เกิดขึ้นบนโลก

               เช่น รังสีจากไอโซโทปกมมันตรังสีของธาตุต่างๆ มาจากแหล่งก าเนิดที่เป็นส่วนประกอบของโลก ได้แก่ ดินหิน
                                   ั
                        ๊
               น้ า และแกส เช่น โพแทสเซียม-40 แวนาเดียม-50 รูบิเดียม-87 อิเดียม-115 ทอเรียม-232 ยูเรเนียม-238 และ
               แกสเรดอน-222 ไอโซโทปกัมมันตรังสีเหล่านี้ มีปริมาณแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น มีปริมาณมาก
                  ๊
               ในบริเวณที่เป็นแหมืองแร่ เหมืองน้ ามัน และแหล่งแกสธรรมชาติ เป็นต้น
                                                           ๊
                       นอกจากแหล่งก าเนิด ร่างกายของมนุษย์ สัตว์และพืชก็มไอโซโทปกัมมันตรังสีอยู่ในร่างกายตาม
                                                                     ี
               ธรรมชาติด้วย ได้แก่ ทริเทียม คาร์บอน-14 โพแทสเซียม-40 ทอเรียม-232 ยูเรเนียม-238 ที่ผ่านจาก
               สิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้าสู่ร่างกาย ตามปกติร่างกายมนุษย์จะรับรังสีเข้าสู่ร่างกายจากธรรมชาติโดยเฉลี่ย

               ประมาณร้อยละ 85 ที่เหลือร้อยละ 15 เป็นรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยรังสีจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจะมี

               ปริมาณแตกต่างกันไปตามสภาพที่ได้รับ เช่น จากอาหาร เครื่องดื่ม และยาชนิดต่างๆ รวมทั้งการรับรังสีเอ็กซ ์
               จากการตรวจร่างกาย จากจอภาพของโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ การได้รับรังสีจากฝุ่นกัมมันตรังสีที่ฟุ้งมาจาก
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35