Page 49 - การเกษตรผสมผสาน (ม.ปลาย).docx
P. 49
2. เป็นสื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้สมัยใหม่ที่ให้ทั้งสาระ ความรู้ ก่อให้เกิดทักษะและช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ได้เร็วขึ้นมากยิ่งขึ้น
3. เป็นแหล่งช่วยเสริมการเรียนรู้ของการศึกษาประเภทต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในการหาความรู้ต่างๆ ได้ด้วย
ตนเองตลอดเวลา โดยไม่จำกัด เพศ วัย ระดับความรู้ความสามารถ
5. เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ในการหาความรู้ จากแหล่งกำเนิด หรือแหล่งต้นตอของ
ความรู้ เช่น จากโบราณสถาน โบราณวัตถุ พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของสัตว์เป็นต้น
6. เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ให้เกิดประสบการณ์ตรง หรือลงมือปฏิบัติได้จริง เช่น
การประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ การซ่อมแซมเครื่องยนต์ เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจความใฝ่รู้
7. เป็นแหล่งที่มนุษย์สามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์ให้เกิดความรู้ เกี่ยวกับวิทยาการใหม่ๆที่ได้รับการคิดค้น
ขึ้น และยังไม่มีของจริงให้เห็น เช่น การดูภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ในเรื่องการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ
ขึ้นมาใหม่
8. เป็นแหล่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคนในท้องถิ่นกับผู้เข้าศึกษาในการทำกิจกรรมร่วมกัน
ช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้
9. เป็นสิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยมให้เกิดการยอมรับสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ เกิดจิตนาการและ
ความคิดสร้างสรรค์กับผู้เรียน
10. เป็นการประหยัดเงินของผู้เรียนในการใช้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้มีการแบ่งแยกตามลักษณะได้ 6 ประเภท ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านต่าง ๆที่สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ด้วยรูปแบบวิธีต่าง ๆ ที่ตนมีอยู่ให้ผู้สนใจหรือผู้ต้องการเรียนรู้ เช่นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการ
ต่าง ๆ ผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์มามาก หรืออาจจะเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นทางการ มีบทบาทสถานะทาง
สังคม หรืออาจเป็นบุคคลที่เป็นโดยการงานอาชีพหรือบุคคลที่เป็นโดยความสามารถเฉพาะตัว หรือบุคคลที่
ได้รับแต่งตั้งเป็นภูมิปัญญา
2. แหล่งเรียนรู้ประเภทธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อ
ื
ู
มนุษย์ เช่น ดิน น้ำ อากาศ พช สัตว์ ต้นไม้ แร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อาจถกจัดให้เป็นอุทยาน วน
อุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น
3. แหล่งเรียนรู้ประเภทวัสดุและสถานที่ ได้แก่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งต่าง ๆ ที่
ึ
ประชาชนสามารถศกษาหาความรู้ให้ได้มาซึ่งคำตอบ หรือสิ่งที่ต้องการจากการเห็นได้ยิน สัมผัส เช่น ห้องสมุด
ศาสนสถาน ศูนย์การเรียน พพิธภัณฑ์ สถานประกอบการ ตลาดนิทรรศการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ชุมชน
ิ
แห่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
4. แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ ได้แก่ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้
สารสนเทศ ให้ถึงกันโดยผ่านประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ แหล่งเรียนรู้ประเภทนี้ ทำให้
ิ
์
กระบวนการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง ทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อสิ่งพมพ สื่อโสตทัศน