Page 51 - การเกษตรผสมผสาน (ม.ปลาย).docx
P. 51
การรณรงค์ความปลอดภัยของเด็กและสตรีในท้องถิ่น ประเภทของแหล่งเรียนรู้แบ่งตามสาระลักษณะ
กายภาพและวัตถุประสงค์ แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มบริการข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนสถาน
ประกอบการ
2. กลุ่มงานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ อนุสรณ์สถาน อนุสาวรีย์ศูนย์
วัฒนธรรม หอศิลป์ ศาสนสถาน เป็นต้น
3. กลุ่มข้อมูลท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน สื่อพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยว
4. กลุ่มสื่อ ได้แก่ วิทยุ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว โทรทัศน์ เคเบิลทีวี สื่ออิเล็กทรอนิกส์อินเทอร์เน็ต
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book) กลุ่มสันทนาการ ได้แก่ ศูนย์กีฬา สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์
สันทนาการ เป็นต้น
การศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน/ใกล้ตัว
1. ภูมิปัญญา
การจัดแบ่งประเภท สาขาของภูมิปัญญาไทย จากการศึกษา พบว่า ได้มีการกำหนดสาขาของภูมิ
ปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งนักวิชาการแต่ละท่านได้กำหนด
ไว้ในหนังสือสารานุกรมไทย โดยได้แบ่งภูมิปัญญาไทย ได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
1.1 สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้าน
การเกษตรกับเทคโนโลยี บนพื้นฐานคุณค่าดังเดิม ซึ่งความสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การ
ทำการเกษตรแบบผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ไร่นาสวนผสม และสวนผสมผสาน การแก้ปัญหา
การเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต การแก้ไขปัญหาโรคและแมลงและการรู้จักปรับใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
1.2 สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปร
ั
รูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นธรรม อน
เป็นขบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่าย
ผลิตผลทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
1.3 สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคน
ในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น การนวดแผนโบราณ การ
ดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นฐาน การดูแลและรักษาสุขภาพแผนโบราณไทย เป็นต้น
1.4 สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชาย
เลน การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน เป็นต้น