Page 52 - การเกษตรผสมผสาน (ม.ปลาย).docx
P. 52

1.5 สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและ

                  บริการกองทุน และธุรกิจในชุมชนทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกใน
                  ชุมชน เช่น การจัดการเรื่องกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์และธนาคารหมู่บ้าน เป็นต้น

                         1.6 สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้
                  เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน

                  การจัดระบบสวัสดิการบริการในชุมชน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชน
                         1.7 สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น

                  จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น

                         1.8 สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการ ดำเนินงานขององค์กร
                  ต่างๆ ให้สามารถพัฒนาและบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาทและหน้าที่ขององค์กร เช่น การจัดการ

                  องค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

                         1.9 สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ
                  ภาษาไทย และการใช้ภาษาตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรม ภาษาถิ่น การ

                  ปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆเป็นต้น
                         1.10 สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทาง

                                                    ุ
                  ศาสนา ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ

                  วิธีการศึกษาเรียนรู้จากภูมิปัญญา

                         1. เรียนรู้จากการเล่าเรื่องราว การเทศน์
                         2. เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

                         3. เรียนรู้จากการทำตาม เลียนแบบ
                         4. เรียนรู้จากการทดลอง ลองผิด ลองถูก

                         5. เรียนรู้จากการศึกษาด้วยตนเอง

                         6. เรียนรู้จากการต่อวิชา
                         7. เรียนรู้จากการสอนแบบกลุ่ม


                  วิธีการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญา อาจมีลักษณะแตกต่างกันตามเอกลักษณ์เฉพาะ

                         ตัวการศึกษาเรียนรู้จากครูภูมิปัญญา จะช่วยทำให้ภูมิปัญญาความรู้หรือคุณค่าของท้องถิ่นได้รับการสืบ

                  ทอดและพัฒนาต่อไป ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนก็จะเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงามในท้องถิ่นของตน ด้วยความรัก ความ
                  ภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน ภูมิปัญญาไทยจึงถือเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่สำคัญของท้องถิ่น


                  2. ศูนย์การเรียนชุมชน

                         ศูนย์การเรียนชุมชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นแหล่งการ
                  เรียนรู้สำคัญแห่งหนึ่ง ที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดำเนินการจัดตั้ง

                  ขึ้นในพื้นที่ระดับตำบลทั่วประเทศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวนักศึกษา เพื่อให้เป็นแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57