Page 116 - แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป.3 เทอม 2
P. 116

ี่
               8. คุณลักษณะทพึงประสงค์/ค่านิยม 12 ประการ (Desirable Characteristics/The twelve values)
                   1.  มีวินัย
                   2.  ใฝ่เรียนรู้
                   3.  มุ่งมั่นในการทำงาน

                   4.   มีจิตวิทยาศาสตร์

               9. ภาระงาน/ชิ้นงาน (Products /Assignments)

                            ้
                    สืบค้นขอมูลการกำหนดทิศ
               10. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
                   จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


                     ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
                      1. ครูให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนรู้มาแล้ว โดยใช้คำถามต่อไปนี้

                       – การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด (แนวคำตอบ
               การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และการเกิดกลางวัน กลางคืน)

                       – ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร (แนวคำตอบ นำมาใช้ในการกำหนดทิศได้)
                      2. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง

               การกำหนดทิศ
                                             ื่
                       3. ครูถามคำถามนักเรียนเพอกระตุ้นความสนใจ เช่น
                       – ดวงอาทิตย์ใช้กำหนดทิศได้เพราะอะไร (แนวคำตอบ เพราะดวงอาทิตย์มีเส้นทางการขึ้นและตก
               เหมือนเดิมทุกวัน)

                       4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน


                   ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
                     1. ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องการกำหนดทิศ จากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้
               นักเรียนเข้าใจว่า การหมุนรอบตัวเองของโลกนอกจากจะทำให้เกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
               และการเกิดกลางวัน กลางคืนแล้ว ยังสามารถใช้ในการกำหนดทิศได้อีกด้วย โดยจะกำหนดให้ด้านที่คนบนโลก

               มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้าเป็นทิศตะวันออก และด้านที่คนบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟา
                                                                                                        ้
               เป็นทิศตะวันตก และเมื่อให้ด้านขวามืออยู่ทางทิศตะวันออก ด้านซ้ายมืออยู่ทางทิศตะวันตก ด้านหน้าจะเป็น
               ทิศเหนือ และด้านหลังจะเป็นทิศใต้
                     2. ครูแบ่งนักเรียนกลุ่มละ 3 – 4 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดทิศ ตามขั้นตอนดังนี้

                   – แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้นตามที่สมาชิก
               กลุ่มช่วยกันกำหนดหัวข้อย่อย เช่น เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดทิศและวิธีกำหนดทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศ
               เหนือ และทิศใต้
                   – สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ โดยการ

               สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน หรืออินเทอร์เน็ต
                                                             ื่
                   – สมาชิกกลุ่มนำข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพอนๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกันอภิปรายซักถาม
               จนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121