Page 7 - ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
P. 7

“การขจัดหนี้นอกระบบให้หมดไปจากหมู่บ้านแห่งนี้ว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ปัญหาเงินกู้นอก

               ระบบ ชาวบ้านเคยกู้เงินมาใช้จนดอกทบต้น เช่น จากหนี้แค่ 3 พันบาท พอทบต้นทบดอกไปมาก็

               ขยับสูงถึง 1 แสนบาท  ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีกลุ่มทวงหนี้เข้า-ออกหมู่บ้านประจำ ผมต้องทำหน้าที่ไกล่
               เกลี่ยลดหนี้ บางครั้งลูกหนี้ไม่มีจ่ายต้องนำเงินจากกองทุนเงินออมทรัพย์ของหมู่บ้านมาช่วยอีกทาง

               เมื่อชาวบ้านใช้หนี้นอกระบบ ปลดภาระได้แล้ว เขาก็จะมาทยอยชำระหนี้คืนกองทุน ซึ่งคิดดอกเบี้ย

               ร้อยละ 6 บาทต่อปี”
                       ส่วนชาวบ้านรายใดต้องการกู้เงินซื้อรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำงาน กู้เงิน

               ประกอบอาชีพ หรือซื้ออุปกรณ์การเรียนให้ลูกหลาน ทางคณะกรรมการกองทุนฯ จะมี “ร้านค้าลอย

               ฟ้า” จ่ายเงินสดให้ร้านค้า และชาวบ้านก็มาเป็นลูกหนี้กองทุนแทน ไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่

               สูงมาก
                       นอกจากนี้ บ้านสันต้นแหน ถือเป็นบ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักกินเองลดรายจ่าย

               และแบ่งปันกันในชุมชน โดยเน้นแต่ละครัวเรือนไม่จำเป็นต้องปลูกทุกอย่าง ปลูกแค่ 1-2 ชนิด แต่

               เมื่อรวมกันหมู่บ้านนี้มีพืชผักที่หลากหลาย
                       อีกทั้งยังมีการทำสวนครัวกลางทุกคนสามารถเก็บกินได้ โดยผู้นำชุมชนแห่งนี้ขอใช้พื้นที่

               โรงเรียนร้าง 1 ไร่ครึ่ง ทำแหล่งเรียนรู้ชุมชน และตลาดสีเขียว ไว้แลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย

               เช่นเดียวกับ บ้านน้ำโจ้ ตำบลดอนแก้ว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อีกชุมชนเล็กๆ ที่ประกอบ

               อาชีพหลากหลาย ทั้งรับจ้าง รับราชการ และทำสวนลำไย
                       “ศุภวิชญ์ ทองยอด” ผู้ใหญ่บ้านน้ำโจ้  เล่าถึงการคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดของ

               ลูกบ้าน พบว่า จากตัวอย่าง 14 คน 12 คนมีสารพิษตกค้างในเลือดระดับสูง และเสี่ยงอีก 2 คน เรา

               จึงมานั่งคุยกัน เสนอโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่กับ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส.
               เพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในร่างกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชกินเอง

               ในครัวเรือน แม้มีที่ดินแค่แปลงเล็กๆ ก็ทำได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายไปในตัว

                       “ทุกวันพุธ ชาวบ้านจะนำพืชผักปลอดสารพิษ มาจำหน่ายที่ตลาดนัดชุมชน เป็นรายได้เสริม
               และยังมีแปลงผักอินทรีย์รวมของหมู่บ้าน มีผู้สูงอายุมาร่วมกันปลูกผักเพื่อแบ่งกันในชุมชน”

               ผู้ใหญ่บ้านน้ำโจ้ ระบุ
                       ก่อนเสริมว่า เดิมแปลงผักรวมของหมู่บ้านน้ำโจ้ เป็นที่ทำการของเทศบาล เมื่อมีการย้ายไป

                                                               ้
               ตั้งสำนักงานอีกแห่ง ที่ตรงนี้จึงว่างลง เขาเลยขอใชที่ดินทำเป็นแปลงรวม ทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตร
               ปลอดสาร
                       “ศุภวิชญ์” เล่าว่า แรกๆ ชาวบ้านก็ไม่ได้สนใจ มองไม่เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับ "แต่ผม

               มองเห็นตัวเลขสารเคมีตกค้างในร่างกาย 12 คนจาก 14 คน แล้วที่ยังไม่ได้มาตรวจอีกล่ะ อีกจำนวน

               เท่าไหร่ ก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่มีอาชีพหลักปลูกผักขายมีแค่ 2 ครัวเรือน ผมก็เอากลุ่มที่สนใจก่อน มา
               เป็นแกนนำรวมตัวกันทำ  พอเห็นผลก็สามารถขยาย กระจายการปลูกพืชได้เกือบทุกครัวเรือน

               พืชหลักๆ ที่ปลูก เช่น ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพวกผักพื้นบ้าน
   2   3   4   5   6   7   8   9