Page 47 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 47

38





                                2.2 พ่อขุนรามค าแหงมหาราช

                                พ่อขุนรามค าแหงมหาราช เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนาม
                  เดิมว่า ขุนรามราช เมื่อมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบในการสงคราม


                  กับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด จนรบชนะ จึงได้พระนามว่า “พระรามค าแหง” เสด็จขึ้น
                  ครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง ในปี พ.ศ. 1822 ในรัชสมัยของพระองค์

                  บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง จนประชาชนได้รับความสุขที่เรียกว่า

                  “ไพร่ฟ้าหน้าใส”

                                ในสมัยพ่อขุนรามค าแหงมหาราช มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก (ราชาธิปไตย)

                  พระองค์ใช้พระราชอ านาจด้วยความเป็นธรรม และให้เสรีภาพแก่ประชาชน แต่ก็ทรงสอดส่อง

                  ความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนก็สามารถร้องทุกข์ได้ โดยได้โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่

                  ประตูพระราชวัง ดังหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ที่ว่า “…ในปากประตูมีกระดิ่งแขวนไว้หั้น  ไพร่ฟ้า

                  หน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่น

                  กระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามค าแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ

                  ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม”



                                พระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง

                                1. ทรงท าสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

                                ทิศเหนือ       อาณาเขตถึงเมืองหลวงพระบาง เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองปัว

                                ทิศใต้         อาณาเขตถึงฝั่งทะเลสุดเขตมลายู โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ

                                               เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณบุรี (อู่ทอง)

                                               เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช
                                ทิศตะวันออก  อาณาเขตถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงค า


                                ทิศตะวันตก  อาณาเขตถึงเมืองฉอด และเมืองหงสาวดี
                                2. ทรงโปรดให้สร้างพระแท่นศิลาขึ้น เรียกว่า “พระแท่นมนังศิลาบาตร” ตั้งไว้

                  กลางดงตาล เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์แสดงธรรมในวันธรรมสวนะ และทรงใช้ประทับว่าราชการ

                  และอบรมสั่งสอนประชาราษฎร์ในวันธรรมดา

                                พระแท่นที่ถูกทิ้งร้างอยู่หลายร้อยปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

                  เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 17 มกราคม ปี พ.ศ. 2376 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวช

                  ได้เสด็จธุดงค์ไปนมัสการเจดีย์สถานต่าง ๆ แล้วตรัสสั่งให้ชะลอพระแท่นมนังศิลาบาตรไปก่อ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52