Page 48 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 48

39





                  เป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิราช ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงลาผนวช จึงโปรดให้ชะลอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตน

                  ศาสดารามในปัจจุบัน
                                3. ทรงโปรดให้สร้างท านบกักเก็บน้ าที่เรียกว่า “สรีดภงส์” โดยก่อสร้างท านบ


                  เพื่อเก็บกักน้ า โดยมีล ารางระบายน้ าส่งเข้าตัวเมือง เพื่อเก็บกักน้ าไว้ในสระน้ าใหญ่และเล็ก
                  หลายสระ โดยเฉพาะสระน้ าตามวัดวาอารามต่าง ๆ ซึ่งมีสระใหญ่หรือตระพังแทบทุกวัด

                                4. ทรงส่งเสริมการค้าขายด้วยการไม่เก็บภาษี ที่เรียกว่า “จกอบ” (อ่านว่า จัก –

                  กอบ) จากหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ที่ว่า "..เมื่อชั่วพ่อขุนรามค าแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ ามีปลา

                  ในนามีข้าว  เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ  ในไพร่  ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้าง

                  ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า  ค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทอง  ค้า…" จากข้อความนี้แสดงถึงความอุดม

                  สมบูรณ์ของอาณาจักรสุโขทัยในด้านการเกษตร ด้านการค้า

                                5. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เรียกว่า “ลายสือไทย” ทรงประดิษฐ์อักษรไทยไว้ใน

                  ศิลาจารึก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ซึ่งแต่ก่อนนั้น ชนชาติไทยเอาแบบของอักษรคฤณภ์ของอินเดีย

                  มาใช้ ต่อมาได้รับอิทธิพลมาจากอักษรมอญและขอม จึงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น เพื่อก าจัด

                  อิทธิพลวัฒนธรรมของขอม และสร้างสรรค์ลักษณะเอกลักษณ์ความเป็นภาษาไทยให้โดดเด่นขึ้น

                                6. ทรงเลื่อมใสและส่งเสริมพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ และ

                  ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์เป็นศาสนาประจ าบ้านเมือง ทรงโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์

                  ลังกาวงศ์ที่รอบรู้พระไตรปิฏกมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นสังฆราช เพื่อสั่งสอนความรู้

                  ทางธรรมแก่ประชาชนสุโขทัย ดังจารึกที่ว่า “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน

                  พ่อขุนรามค าแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน

                  ทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน  เมื่อออก

                  พรรษากรานกฐิน  เดือนหนึ่งจึงแล้ว  เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้
                  มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปี แล้ญิบล้านไปสูดญัติกฐิน  เถิงอรัญญิกพู้น...”


                                7. ทรงโปรดให้จารึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์ในศิลาจารึกสุโขทัย
                  หลักที่ 1 ระบุถึงอาณาเขตของบ้านเมือง ได้แก่  “...มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก

                  รอดสรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงค าเป็นที่แล้วเบื้องหัวนอน

                  รอดคนทีพระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลเป็นที่แล้วเบื้อง

                  ตะวันตกรอดเมืองฉอด เมืองหงสาวดี สมุทรหาเป็น แดนเบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองมาน

                  เมืองน่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา...”
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53