Page 115 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 115
A4-202
19th HA National Forum
จากแผนภูมิ Conceptual Framework for the International Classification for Patient Safety ขององค์การอนามัยโลก (WHO 2009) อธิบายถึง patient safety incident ซ่ึงตรงกับคาว่า “เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์” (adverse event) ที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (incident & harm) หรือเพียงแค่อาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (could have resulted) รวมถึงการกระทาที่ส่งผลต่อความปลอดภัยแต่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วย (near miss) ดังนั้นเหตุการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety incident) หรือเหตุการณ์ท่ีต้องรายงาน (reportable incident) จึงครอบคลุมท้ังเหตุการณ์เกือบพลาด (near miss) เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแต่ไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย (no harm incident) และเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย (harmful incident - AE)
“ความเส่ียง” (risk)
หมายถึงโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เมื่อยังไม่เกิดเหตุการณ์จึงเป็นเพียงแค่ความเสี่ยง แต่เมื่อมีความผิดพลาด (error) จะเกิด เปน็ อบุ ตั กิ ารณ์ (incident) ตามมา ความเสยี่ ง (risk) เปน็ ผลคณู ระหวา่ งภยั คกุ คามทจี่ ะทา ใหเ้ กดิ อนั ตราย (hazard) กบั การเปดิ รบั โอกาส (exposure) ถ้า exposure มากจะทาให้โอกาสเกิด error เพิ่มข้ึน ส่งผลทาให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติการณ์
“ความผิดพลาด” (error)
คือ ความล้มเหลวท่ีไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่ตั้งใจ หรือการพิจารณาเลือกใช้แผนผิดพลาด ดังน้ัน error จึงเกิดจากการกระทา หรือไม่กระทาในส่ิงที่ควรปฏิบัติ
“ปัจจัยเอ้ือ” (contributing factor)
เป็นปัจจัยที่มีส่วนทาให้เกิดความเสี่ยง เป็นคาที่มักใช้ในการทบทวนภายหลังเกิดอุบัติการณ์
นอกจากนยี้ งั มอี นั ตรายอกี สว่ นหนงึ่ ทเี่ กดิ จากธรรมชาตขิ องโรค (harm from nature of disease) ซง่ึ ไมถ่ อื เปน็ patient safety incident เช่น ผู้ป่วยต้ังครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy) มีภาวะ shock หรือเสียชีวิตอยู่ที่บ้าน ไม่ถือว่าเป็น patient
safety incident แต่จากเหตุการณ์เดียวกัน ถ้าผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาด้วยอาการมีเลือดออกทางช่องคลอด แล้วแพทย์ไม่สามารถ ตรวจพบหรอื วนิ จิ ฉยั ได้ เกดิ การวนิ จิ ฉยั ผดิ พลาด การรกั ษาลา่ ชา้ จนทา ใหผ้ ปู้ ว่ ยเกดิ ภาวะ shock หรอื เสยี ชวี ติ จะถอื วา่ เปน็ patient safety incident เพราะเกิด error ที่ไม่กระทาในส่ิงท่ีควรกระทา เพ่ือให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว มีมาตรการยับยั้งการดาเนิน ของโรคไปสู่ภาวะวิกฤตได้ ผู้ป่วยก็จะปลอดภัย
แต่ก็มีความยุ่งยากในการตัดสินใจเนื่องจากความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของโรค และวิธีการรับมือกับการเปล่ียนแปลงดังกล่าว อย่างปลอดภัย เช่น Abdominal Aortic Aneurysm (AAA) ซ่ึงเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในอดีตจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่เชื่อว่ามีอัตราตายสูง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาเมื่อมีเทคโนโลยี และเครื่องมือที่ทันสมัย ทาให้ปัจจุบันโรคดังกล่าวสามารถรักษาให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มากขึ้น ในอดีตการ เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวจึงเป็นการเสียชีวิตจากธรรมชาติของโรค ไม่ถือเป็น patient safety incident แต่ในปัจจุบันเริ่มตัดสินใจลาบาก ว่าเป็นไปตามธรรมชาติของโรคหรือเป็น patient safety incident
อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย delayed postpartum hemorrhage ซ่ึงไม่ได้เกิดจากการมีรกค้างแต่เกิดจากการติดเชื้อ เชื่อว่าเกิดจากการ ติดเชื้อเนื่องจากให้การรักษาด้วยยาฆ่าเช้ือแล้วอาการผู้ป่วยดีขึ้น ความยุ่งยากในการตัดสินใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นธรรมชาติของโรคหรือเป็น patient safety incident เป็นเร่ืองที่ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนเช่นกัน โดยอนุโลมอาจพิจารณาว่าเป็นอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติของโรค (harm from nature of disease) เน่ืองจากไม่สามารถหามาตรการมาป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าวได้
สรุปได้ว่า ความเส่ียงกับอุบัติการณ์มีความสัมพันธ์กัน โดยความเส่ียงคือโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ส่วนอุบัติการณ์คือการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดหรือได้ทาให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย ดังนั้น อุบัติการณ์ จึงเป็นส่ิงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ซ่ึงอาจเป็นความเสี่ยงในปัจจุบันและอนาคตต่อไป หากไม่มีการปรับปรุง แก้ไขอย่างรัดกุม จะเห็นได้ว่าความเส่ียง ครอบคลุมท้ังอุบัติการณ์ที่เคยเกิดข้ึนและมีโอกาสที่จะเกิดซ้า และโอกาสเกิดท่ีเราคาดการณ์ เม่ือวิเคราะห์ได้ครอบคลุมก็สามารถสร้างระบบบริหาร ความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ที่ป้องกันได้ ส่งผลทาให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุด
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 115