Page 132 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 132
B2-202
19th HA National Forum
นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิพ์ งศ์
มาตรฐาน HA ฉบับที่ 4 ตอนท่ี I- ภาพรวมของการบริหารองค์กร มีการเพิ่มเติมในหัวข้อสาคัญที่เก่ียวข้องกับ ethical dilemma ไว้ในข้อกาหนด I-1.2 ข.(3) ซ่ึงข้อกาหนดท่ีระบุไว้มีดังน้ี
I-1.2 การกากับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม
ข. การปฏิบัติตามกฎหมายและพฤติกรรมท่ีมีจริยธรรม
(1) องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ คาดการณ์และเตรียมการเชิงรุกต่อผลกระทบเชิงลบต่อสังคม
ความกังวลของสาธารณะ (public concerns) และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ.
(2) องค์กรส่งเสริมและสร้างความม่ันใจว่าจะมีพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในปฏิสัมพันธ์ทุกกรณี มีการติดตามกากับ
และดาเนินการต่อพฤติกรรมท่ีฝ่าฝืนหลักจริยธรรม.
(3) องค์กรจัดให้มีกลไกเพ่ือการรับรู้และจัดการกับประเด็นทางจริยธรรมท่ียากลําาบากในการตัดสินใจ (Ethical Dilemma)
ด้วยวิธีการและระยะเวลาท่ีเหมาะสม
ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลาบากในการตัดสินใจ ได้แก่
1. ประเด็นทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ แต่ทุกทางเลือกจะมีผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์เสมอไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร หรือไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของทุกฝ่าย
2. ประเด็นที่มีความขัดแย้งกันเองในหลักจริยธรรมทางการแพทย์ (Medical Ethic)
กรณีศึกษาท่ี 1 โรงพยาบาลแห่งหน่ึงรับผู้ป่วยซึ่งเป็นนักเรียนวัยรุ่นตั้งครรภ์ การต้ังครรภ์ในวัยเรียนส่งผลให้มีปัญหาทั้งต่อตัวเด็กนักเรียน การเรียนและสังคม ครอบครัวจึงเตรียมการอย่างดีในการให้พ่ีสาวของเด็กนักเรียนรายนี้ซึ่งอายุยังไม่มากและแต่งงานแล้ว แต่งตัวเป็นหญิงต้ังครรภ์ เพอื่ ใหส้ งั คมรบั รวู้ า่ กา ลงั ตงั้ ครรภแ์ ลว้ ไปฝากครรภท์ โี่ รงพยาบาลพรอ้ มกนั โดยยนื่ บตั รประชาชนของพส่ี าว ดงั นน้ั ประวตั เิ วชระเบยี นจงึ เปน็ ของพสี่ าว แต่เวลาตรวจครรภ์ตรวจตัวน้องสาวซึ่งเป็นนักเรียน เมื่อถึงกาหนดคลอดบุตรตามปกติพยาบาลห้องคลอดจึงตรวจพบว่าประวัติในเวชระเบียนกับ ผู้ป่วยเป็นคนละคนกัน แต่ครอบครัวของนักเรียนคนนี้ขอให้โรงพยาบาลแจ้งเกิดบุตรโดยใช้ชื่อของพี่สาวเป็นมารดา และใช้ช่ือของพี่เขยเป็นบิดา ของเด็ก เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้หากท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลท่านจะใช้หลักอะไรในการตัดสินใจ และจะตัดสินใจอย่างไร
ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สรุปได้ว่าควรลงชื่อมารดาตามความเป็นจริงซ่ึงต้องพิจารณาข้อกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง โอกาสพัฒนาของโรงพยาบาลคือควรมีระบบการดูแลหญิงต้ังครรภ์วัยรุ่นโดยเฉพาะและมีการปกปิดข้อมูล ควรค้นหาเหตุผลและความต้องการ ที่แท้จริงของครอบครัว
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
เสนอว่า ควรใช้ความจริงเป็นตัวต้ัง แล้วพิจารณาว่าจะเจรจากับครอบครัวอย่างไรให้ยอมรับความจริงและเปลี่ยนใจ ซึ่งมีกระบวนการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. การแก้ไขประวัติเวชระเบียนให้ถูกต้อง แต่อาจถูกฟ้องร้องได้ว่ามีการแก้ไขเวชระเบียน
2. เวชระเบียนของเด็กนักเรียนรายน้ีควรมีก่ีฉบับ อาจต้องมีเวชระเบียนฉบับหนึ่งท่ีถูกเก็บเป็นความลับและไม่ถูกเปิดเผยในอนาคตหรือไม่ 3. โรงพยาบาลจะมีบทบาทอย่างไรในการช่วยให้ครอบครัวสามารถก้าวข้ามปัญหาที่ครอบครัวกลัว
4. เสนอทางเลือก/ทางออกในการแก้ปัญหา
132 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)