Page 247 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 247

A4-205
19th HA National Forum
 การจัดการมีด้วยกันหลายวิธีข้ึนกับบริบทของโรงพยาบาล เช่น ตามกรณีศึกษาท่ีมีการส่ังใช้ Simvastatin กับ Clarithromycin ในที่นี้ ขอยกตัวอย่าง 3 ทางเลือกดังนี้
1. การแนะนาให้ผู้ป่วยหยุดกินยาที่เป็นคู่กรณีกันชั่วคราว เช่นกรณีคู่ยา Simvastatin กับ Clarithromycin แพทย์อาจแนะนาให้ผู้ป่วย หยุดกินยา Simvastatin ช่ัวคราวในขณะที่ได้รับการรักษา H. Pylori
ขอ้ จาํา กดั ดา้ นการสอื่ สาร การรบั รชู้ นดิ ยาของผปู้ ว่ ยทตี่ อ้ งจา ชนดิ ยาไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง ผปู้ ว่ ยอาจไมไ่ ดห้ ยดุ ยาตามคา แนะนา หรอื บางรายอาจ หยุดกินเกินระยะเวลาที่แนะนา อีกทั้งกรณีนี้ระบบยาของโรงพยาบาลจะต้องมีการ Unlock ระบบเพื่อปล่อยให้มีการสั่งใช้ยาคู่นี้ร่วมกันได้ช่ัวคราว หากแต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจมีปัญหาของระบบสารสนเทศในการ Lock/Unlock คู่ยา Fatal Drug Interaction จนทาให้เกิดปัญหาไม่ได้ Lock กลับคืนจนอาจเกิดปัญหาตามมาได้
2. การเปลี่ยนชนิดของยาลดไขมัน เน่ืองจากยาในกลุ่ม Statains นั้นมีบางชนิดท่ีมีโอกาสในการเกิด Fatal Drug Interaction กับ Clarithromycin น้อยกว่า Simvastatin เช่น Pravastatin, Atorvastatin หรือ Rosuvastatin ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
ข้อจําากัด รายการยาในบัญชียาของแต่ละโรงพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น
3. การเปลี่ยนสูตรรักษา H. Pylori เน่ืองจากยาปัจจุบันมีสูตรยาในการรักษา H. pylori ที่ไม่มี Clarithromycin เป็นทางเลือกในการรักษา H. pylori เช่น 2nd line Levofloxacin based sequential Therapy 10 วัน ที่มี eradication rate สูงกว่าร้อยละ 95 หรือ สูตร 2nd line Quadruple Therapy 14 วัน ที่มี eradication rate สูงกว่าร้อยละ 90
ข้อจําากัด ต้องพิจารณาร่วมกับอัตราการดื้อยา Levofloxacin ในโรงพยาบาลน้ัน ร่วมกับประวัติการใช้ยาต้านจุลชีพของผู้ป่วย บทส่งท้าย
ผู้ป่วยบางรายต้องรับการรักษากับแพทย์หลายสาขาวิชา โอกาสท่ีผู้ป่วยจะได้รับยาซ้าซ้อนมีมาก ทาให้เกิดพิษของยา หรือการรักษานั้น ไม่ได้ผล ต้องสร้างระบบกาหนดว่ายาตัวใดเสริมฤทธิ์กันหรือต้านฤทธิ์กันในกลุ่มยาที่ใช้บ่อย เพ่ือให้ป้องกันปัญหา “ยาตีกัน (Drug interaction)” แพทย์ผู้สั่งการรักษาจะได้พิจารณาใช้ยาที่ไม่ทาให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
ข้อค้นพบใหม่ทีไ่ด้จากเรือ่ง
1. แนวทางในการค้นหาปัญหา Drug interaction
• พิจารณาปัญหาว่าเกิดจากยาชนิดใด และปัญหาของยาดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มฤทธิ์หรือลดฤทธ์ิของยา • ยาที่สงสัยว่าอาจตีกับยาที่มีปัญหามีอะไรบ้าง
• ยาที่สงสัยเริ่มใช้เม่ือใด และตีกันกับยาที่มีปัญหาด้วยกลไกใด
• กลไกของการตีกันสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเกิดปัญหาหรือไม่
2. ปฏิกิริยาระหว่างยาตีกัน (Drug interaction) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระดับยาสูงสุดในเลือด ปริมาณการดูดซึม อัตราการกาจัด ยาออกจากร่างกาย หรือค่าครึ่งชีวิต เป็นต้น ผลจากการเปล่ียนแปลงระดับยาในร่างกายไม่ว่า
จะเป็นการเพิ่มหรือลดระดับยา อาจมีผลต่อเน่ืองจนกระท่ังก่อให้เกิดความเปล่ียนแปลงฤทธิ์ในการรักษา หรือทาให้เกิดอาการข้างเคียง หรือความเป็นพิษของยา
ปจัจัยแห่งความสาเร็จ
แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องของ Drug Interaction และ Fatal Drug Interaction 1. การให้ความรู้บุคลากรที่เกี่ยวข้องแพทย์-พยาบาล-เภสัชกร-ผู้ป่วย
- เลือกเวลา-สถานที่
- ความถ่ีในการให้ความรู้
- ช่องทางของการให้ความรู้
2. การประเมินความชุกของยาที่ก่อให้เกิดปัญหาสาคัญ
- การประเมินล่วงหน้า จากความรู้ทางวิชาการเภสัชกรรม
- การประเมินจากรายงานปัญหาทางยาที่มีมาก่อนแล้ว
3. แผนการแก้ปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาเครื่องมือช่วยเตือนปัญหายาตีกันท่ีเหมาะสมกับบริบท
เช่น flashcard ติดตามที่ต่างๆ หรือระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นเตือน (CDS)
4. ผู้บริหารออกเป็นนโยบายเพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาที่เป็นคู่ยา Fatal Drug Interaction
“การจัดเก็บรายการยาที่ดี จะทําาให้เราสามารถค้นหาปัญหาของการใช้ยาเจอได้อย่างแน่นอน”
    สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)   247





































































   245   246   247   248   249