Page 328 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 328
C2-206
19th HA National Forum
ผลการศึกษา ระยะท่ี 1 พบว่า
1. สิ่งที่ต้องการในฉลากยา ได้แก่ วิธีใช้ยา ชื่อยาภาษาไทย และคาเตือนในฉลากยา
2. การระบขุ อ้ บง่ ใชใ้ นกรณยี าทมี่ หี ลายขอ้ บง่ ใช้ หากจะระบคุ วรระบใุ หค้ รบถว้ น หรอื ทา การสอื่ สารใหผ้ ปู้ ว่ ยทราบ ถงึ ขอ้ บง่ ใชจ้ ากยาทไี่ ดร้ บั 3. จัดทาข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือ แหล่งที่เข้าถึงได้ง่าย
การศึกษาระยะท่ี 2
สา รวจขอ้ ความในฉลากยาและฉลากยาเสรมิ ในผทู้ ไี่ ดร้ บั ยาจา นวน 900 คน ทมี่ ารบั ยาใน รพ. เครอื ขา่ ย UHOSNET สว่ นใหญเ่ ปน็ เพศหญงิ อายุ 60 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับปริญญาตรี นาข้อความที่ทางทีมร่วมกันพัฒนาข้ึนมาถามในประเด็นของความเข้าใจว่าอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ อ่าน แล้วรู้สึกอย่างไร กังวลหรือไม่ และข้อความน้ีมีผลต่อการกินยาต่อหรือไม่
ในระยะที่ 2 ผู้ป่วยกังวลน้อยลง ซึ่งผู้ท่ีกังวลส่วนใหญ่เป็นคนท่ีเพ่ิงได้รับยาครั้งแรก และส่วนใหญ่จะกินยาต่อ ส่วนข้อความในฉลากยา เสริมพบว่า บางข้อความท่ีอ่านแล้วไม่เข้าใจ มักเป็นศัพท์เทคนิค ศัพท์ทางการแพทย์ เช่น อาหารที่มีโปแตสเซียมสูง จึงปรับข้อความให้เข้าใจมากขึ้น
ผลการศึกษา ระยะท่ี 2
1. ประชาชนท่ัวไปจะมีความกังวลและไม่กินยา มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องได้รับยาน้ันๆ 2. ผู้ป่วยที่ได้รับยาครั้งแรกมีความกังวลมากกว่าผู้ป่วยที่เคยได้รับยา
3. ผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจคาศัพท์เฉพาะ ชื่อยา ชื่อโรค ตัวย่อ
4. ข้อความที่ดูเป็นผลข้างเคียงที่อันตราย มีผลต่อความกังวลและการไม่กินยา
5. ระดับการศึกษามีผลต่อความเข้าใจ แต่ไม่มีผลต่อความกังวล
6. คาเตือนในฉลากยาบางคา ยังต้องปรับให้เข้าใจง่าย และหลีกเลี่ยงข้อความที่อ่านแล้วทาให้เกิดการไม่กินยา
ภญ.พาขวัญ ปุณณุปูรต
โครงการพั ฒนาฉลากยาเสริมและข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา
จากปัญหาข้อมูลในฉลากยาท่ีมีความหลากหลาย สถานพยาบาลแต่ละแห่งมีการจัดทาฉลากยาท่ีต่างกัน ทาอย่างไรให้เกิด Single Drug Information for ALL โดยแบ่งการจัดทาเป็นรอบๆ ดังน้ี
รอบที่ 1 จัดทาข้อมูลฉลากยาเบ้ืองต้น โดยเภสัชกรจากกระทรวงสาธารณสุข เครือข่าย UHOSNET และอาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ รอบท่ี 2 การตรวจสอบและทบทวนความถูกต้องของข้อมูล โดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ (Verification)
รอบที่ 3 การตรวจสอบทบทวนข้อมูลร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Specialist Consultation) เริ่มจากรายการยาท่ีจัดทาฉลากยาเสริมตั้งต้นจากรายช่ือยาของโรงพยาบาลศิริราช 18 กลุ่มยา (3,293 รายการ 1,409 generic)
แบ่งเป็น 3 Phase
- Phase I เป็นยาเม็ดชนิดกินในกลุ่มยาหลัก รวมถึงยาฉีดท่ีผู้ป่วยนาไปใช้เองที่บ้าน (547 generic) - Phase II เป็นยาเม็ดกลุ่มวิตามิน ยาใช้ภายนอก วัคซีน
- Phase III เป็นยาฉีดในโรงพยาบาลและอื่นๆ
ขัน้ ตอนวางแผนการดาเนินการ รอบท่ี 1
1. รูปแบบการจัดทาข้อมูล ฉลากยาเสริมและข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา (ขยป. 2)
2. การประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ท้ังในทีมของฝ่ายการศึกษา ได้แก่ อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ และทีมของฝ่ายบริการ จากกระทรวง สาธารณสุข และ UHOSNET
3. จัดประชุมวางแผนแนวทางการจัดทาข้อมูลกับฝ่ายบริหาร ผู้เก่ียวข้อง และผู้เช่ียวชาญร่วมดาเนินการ
4. แบ่งรายการยาที่จะพัฒนาในแต่ละ phase จากทั้งหมด โดยใช้รายการยาตั้งต้นจากข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราช โดยใน phase แรก จัดทาทั้งสิ้นจานวน 654 รายการ
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 328