Page 435 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 435

A4-106
19th HA National Forum
 ในการ LEAN จะมีคาว่า Waste กับ Value จึงต้องหาว่าอะไรคือ Value พบว่าในผู้ป่วย Stroke ค่าเฉล่ีย Door to CT = 15 นาที ค่าเฉลี่ย Door to needle =31 นาที กรณีนี้เราสามารถลดเวลาได้โดยใช้ระบบ EMS ซึ่งโรงพยาบาลศิริราชจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2561 ทีม EMS จะมีการซักประวัติและตรวจร่างกาย Value ของผู้ป่วย Stroke คือ การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Stroke กรณีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ ทีมออก ให้บริการมีความเช่ียวชาญสามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็น Stroke ก่อนถึงโรงพยาบาล ก็จะเป็นการลดระยะเวลาการวินิจฉัย หรือกรณีท่ีไม่แน่ใจ ก็สามารถสื่อสารผ่าน Tele-med ได้ รวมถึงการให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อทาเวชระเบียนก่อนถึงโรงพยาบาล และสามารถเขียนใบเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ สมองได้เลยก่อนถึงโรงพยาบาล และเตรียมเตียงสาหรับผู้ป่วย stroke ไว้รอเลย
ในช่วงทดลองระบบ EMS ญาติผู้ป่วย โทรมาแจ้งอาการว่ามีผู้ป่วยพูดไม่ได้อ่อนแรงข้างซ้ายแบบขยับไม่ได้ ทีม EMS โรงพยาบาล ออกไป รับและวินิจฉัยได้ว่าเป็น Stroke จากน้ันโทรประสานมาท่ีโรงพยาบาล มีการจัดเตรียมข้อมูลผู้ป่วยล่วงหน้า มีทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องพร้อมให้การดูแล มีการเตรียมเปลนอนสาหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย Stroke จัดเตรียมส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เป็นต้นทาให้สามารถลดเวลา Door to CT จาก 15 เหลือ 6 นาที Door to needle จาก 31 เหลือ 21 นาที ผู้ป่วยได้ยาอย่างรวดเร็วภายในวันเดียวแขนขาสามารถขยับได้ น่ันคือสิ่งท่ีบุคลากรทางการ แพทย์อยากได้น่ันคือผู้ป่วยอาการดีขึ้น
โรคที่หนักที่สุดในห้องฉุกเฉิน คือ ผู้ป่วย Arrest พบว่า DOWNTIME in CPR คือ 1) เสียเวลาหาของ 2) ทีมอยู่ไม่เป็นตาแหน่งต้องเดิน ไปมา 3) อุปกรณ์ในมุม CPR เยอะเกินไปแต่มักไม่ได้ใช้ 4) บางครั้งคนน้อย บางครั้งคนเยอะแต่ไม่รู่ว่าบทบาทของแต่ละคนคืออะไร 5) มีการเก็บยา จานวนมากไว้ในรถฉุกเฉิน 6) มีอุปกรณ์ Real -time feedback CPR ทาให้เพ่ิมขั้นตอนก่อนการกดหน้าอก (ใช้เวลาในการแปะแผ่น 2นาที) กรณี ขาดความชานาญในการใช้
การจัดกระบวนการฟื้นคืนชีพ (CPR) ใช้ต้นแบบจากการเปล่ียนล้อรถ ในการแข่งรถ Formulary 1 ด้วยความรวดเร็ว เปลี่ยน 4 ล้อ ใช้เวลาไม่ถึง 2 วินาที แสดงให้เห็นถึง 1) การเตรียมทีม 2) การจัดหน้าที่ของแต่ละคนในทีม 3) การฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ ทาให้ผลงานออกมาดี ในกระบวนการช่วยฟ้ืนคืนชีพก็เช่นกัน ต้องการความรวดเร็ว การshock หัวใจต้องทาด้วยความรวดเร็ว
เม่ือมีการทบทวนกระบวนการ CPR มีการปรับปรุงดังนี้ 1) ในการแปะแผ่น Real -time feedback CPR เดิมใช้เวลา 2 นาที เมื่อมีการ ฝึกซ้อมการทางานเป็นทีมบ่อยๆ ทาให้ระยะเวลาลดเหลือ 45 วินาที ทุกคนมีความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือเนื่องจากพบว่ามี value เพราะเคร่ืองน้ี ทาให้เราทราบคุณภาพในการกดหน้าอก 2) มีการจัดรถ Air way ใหม่จัดวางของใช้ใหม่ลดการใช้เวลาในการหาของ 3) หลังจากการทา CPR จะพบปัญหา 1.พยาบาลเสียเวลานับจานวนยาท่ีมีการนามาใช้จริงซ่ึงไม่เท่ากับจานวนท่ีบันทึก (ทางานซ้าซ้อน) 2.พยาบาลเขียนใบสั่งยาเพื่อเบิก ยาคืน (มิฉะนั้นยาอาจจะหมดได้) 3.เภสัชกรต้องจ่ายยาตามใบสั่งแบบเขียน (ซ่ึงอาจผิดพลาดได้) 4. จานวนยาที่จ่ายไม่เท่ากันทาให้ต้องมีการนับ หลายคร้ังเพ่ือความถูกต้องจึง แก้ปัญหาโดยการจัดทา CPR Set โดยจัดไว้ 3 Set
เมื่อมีการใช้ยา CPR Set หลังใช้ต้องนากล่องส่งคืนให้เภสัชกร เพื่อเติมยาและคิดค่ายาแต่ละคร้ังทาให้ลดข้ันตอนในการตรวจนับยาและ การเตรียมยาเพื่อช่วยผู้ป่วยรายใหม่ต่อไป
   435   สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)


























































































   433   434   435   436   437