Page 528 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 528
B3-108-109
19th HA National Forum
ดร.ยอดเย่ยี ม เทพธรานนท์
บุคลากรทางสาธารณสุข ราว 9.5 จาก10 คน กล่าวถึงมาตรฐานทางด้านกายภาพของโรงพยาบาล ที่เป็นสากลนิยมท้ัง JCI และ Evidence Based Design แบบจาต่อๆ กันมาโดยมิได้อ่านเอกสารท้ังหมด อาจเนื่องจากขนาดของเล่ม ที่มีทั้งตัวหนังสือขนาดเล็ก และขนาดค่อนข้างหนา ดังน้ันเม่ือนาไปใช้จึงอาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากที่มาตรฐานกาหนด นอกจากนี้การนามาตรฐานมาใช้ควรต้องปรับให้เหมาะกับสภาพภูมิประเทศ บริบท ตัวประชากร ของประเทศไทย เป็นต้น
ตัวอย่าง
มาตรฐาน EBD
ความเชื่อของคนไทย
แสงเป็นสิ่งสาคัญ โดยเฉพาะการนาแสงจาก ธรรมชาติมาใช้ให้ความสว่างภายในห้อง
• ประเทศไทยใช้ “แสงเหนือ” เพราะพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก อ้อมไปทางใต้ และตกในทิศตะวันตก ซึ่งแสงทางด้านทิศตะวันตกให้ระวัง มากทสี่ ดุ เพราะแดดแรงเกดิ กระไอแดดและหากเตยี งผปู้ ว่ ยถกู วางตรงกลาง ระหว่างเครื่องปรับอากาศและกระไอแดด ก็จะทาให้ป่วยหนักขึ้น
• อย่าเอาเตียงผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ให้เห็นพระอาทิตย์ตกดินมากนัก เพราะ ตอนสนธยาจะทาให้จิตตก
การทวนสอบการออกแบบโรงพยาบาลว่าดีหรือไม่ สามารถทวนสอบเบื้องต้นได้จาก 3 ประการน้ี คือ
1. ห้องน้าในหอผู้ป่วย ประตูเปิดเข้าหรือเปิดออก ซึ่งตามมาตรฐานควรเป็นเปิดออกหรือบานเลื่อนเท่าน้ัน เพราะหากเปิดเข้านั้น หากผู้ป่วนล้มและพิงประตูจะทาให้เปิดประตูไม่ได้ และอาจช่วยผู้ป่วยไม่ทัน
2. เม่ือบุคลากรทางการแพทย์เดินเข้าไปหาผู้ป่วยในห้องต้องหันซ้าย หรือขวา ซึ่งตามมาตรฐานผู้ป่วยควรหันขวามาท่ีบุคลากรทางการ แพทย์ เพราะสายต่างๆ ของผู้ป่วยมักอยู่ด้านซ้าย และในการจัดห้องนั้น ควรพบผู้ป่วย ก่อนส่วนพักญาติ
3. ในส่วนของทางเดินมีการติดตั้งหลอดไฟอยู่ตรงกลางทางเดินหรือไม่ ซึ่งตามมาตรฐานทางเดินควรมีความสว่างราว 150 ลักซ์ และดวง ไฟไม่ควรอยู่กลางทางเดิน เพราะไฟจะส่องเข้าตาผู้ป่วยที่เป็นเปลนอนได้ จึงควรติด ดวงไฟไว้ทางซ้ายหรือขวา
การออกแบบโดยอ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence Base Design- EBD
EBD คือ กระบวนการพื้นฐานเพื่อการตัดสินใจในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สร้างข้ึน โดยอ้างอิงจากงานวิจัยต่างๆ ท่ีน่าเช่ือถือ เพ่ือนา ไปสู่ผลลัพธ์ท่ีดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ EBD เริ่มเข้ามามีบทบาทในสหรัฐอเมริกา มีการก่อตั้ง
The center for health design (www.healthdesign.org) เป็นศูนย์ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นเครื่องมือให้กับผู้ที่สนใจทั้งเจ้าของ โครงการ และผู้ออกแบบ
ความงามในมุมมองของ EBD
EBD ไม่สามารถจะอธิบายเร่ืองความงามให้เป็นรูปธรรมได้ ความงามเป็นเรื่องของความคิด ความเห็นต่าง เป็นเรื่องจิตวิทยา เก่ียวข้อง กับศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ และความงามมีผลกับผู้ใช้งาน ความงามไม่จาเป็นต้องใช้วัสดุ ของตกแต่งท่ีมีมูลค่าสูง แต่ควรเกิดจากการผสมผสาน องค์ประกอบต่างๆ อย่างลงตัว และใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ทั้งในด้านการใช้งาน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการรักษาพยาบาล
การใช้องค์ประกอบหลักในการออกแบบ ตามแนวคิด EBD เช่น
1. ใช้องค์ประกอบที่ช่วยสร้างบรรยากาศเพ่ือเบี่ยงเบนความสนใจในทางบวก (Positive distraction)
เช่นสร้างบรรยากาศเหมือนบ้าน เช่น การประดับตกแต่งด้วยงานศิลปะ ของตกแต่ง แต่หากจะมีการติดรูป EBD บอกชัดเจนว่า ห้ามติด รูปคน นอกจากพระเยซู เพราะอาจมีผลกระทบเมื่อผู้ป่วยนาตนไปเปรียบเทียบ (เช่น ผู้ป่วยพิการแขนขาด)
2. ใช้งานศิลปะ ได้แก่ ภาพวาด ภาพถ่าย ประติมากรรม เป็นต้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมกระบวนการเยียวยารักษาหลีกเล่ียง ภาพศิลปะที่คลุมเครือ เพราะอาจทาผู้ป่วยสับสน เช่น ภาพ Abstract
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 528