Page 55 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 55
C1-200
19th HA National Forum
ทานสัมพันธ์กับศีล ศีลสัมพันธ์กับภาวนา พระพุทธเจ้าจึงวางระบบไว้คือ ทาน ศีล ภาวนา ภาวนาก็เป็นสิ่งสาคัญเพราะถ้าเราสนใจในเรื่อง ความสุขความทุกข์ รู้จักว่าตอนนี้สุขหรือทุกข์ เกิดมาจากเหตุอะไร ต้องมีภาวนาหรือการมองเข้ามาข้างในเพื่อจะจับต้นชนปลายให้ได้ ให้เห็นว่า อันไหนเป็นเหตุ อันไหนเป็นผล เรียกว่ามีปัญญาบริหารจิต รักษาจิตอย่างไรให้เล่ียงจากความทุกข์และสร้างเหตุของสุข ภาวนาเพื่อให้จิตมีกาลังพอ ที่จะศึกษาทาความเข้าใจเรื่องความสุขความทุกข์และผลของมัน ฉะนั้นทาน ศีล ภาวนา จึงเป็นองค์รวมที่จะต้องพัฒนาไปด้วยกัน
ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาในการให้ทาน คนท่ีจะให้ทานได้ก็ต้องมีสัมมาอาชีพ แสวงหาทรัพย์ด้วยความสุจริต ปัญญาในการรักษาศีล คนไม่มีปัญญาก็รักษาศีลไม่ได้เพราะว่าศีลเป็นเรื่องละเอียด ต้องใช้ทักษะในการรักษาศีลให้บริสุทธ์ิ ปัญญาในการเจริญสติ เป็นปัญญาในการทาจิต ให้ตื่นรู้ ไม่ลืมสิ่งที่ควรทา ปัญญาในการทาจิตให้สงบได้ ต่อมาก็ คือ ปัญญาท่ีจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ ตัวตน ปุถุชนส่วนใหญ่จะเห็นสิ่งที่ไม่งามว่างาม สิ่งที่มันเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นส่ิงที่มันไม่เที่ยงว่าเที่ยง ส่ิงที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ที่เรียกภาษาพระ วา่ วปิ ลาส ซงึ่ เราตอ้ งมปี ญั ญาในการละวปิ ลาสพวกน้ี ปญั ญาคอื สงิ่ สา คญั ทจี่ ะยกคณุ ภาพจติ ใจใหด้ ขี นึ้ ชวี ติ เราตอ้ งมสี ว่ นในการพฒั นาคณุ ภาพโดยการ เพิ่มคุณธรรมให้กับจิตของเราด้วย เร่ิมจากตัวเราเอง ถ้าเรายังไม่เข้าใจว่าคุณภาพของจิต คุณภาพของชีวิตที่ดีเป็นอย่างไรแล้วจะไปรู้คนอ่ืนก็คงยาก ทุกวันนี้เรามักให้ความสาคัญกับความสะอาดทางกายมากกว่าความสะอาดทางจิต แต่พระศาสนาให้เราชาระจิตให้บริสุทธิ์ด้วย ชีวิตมีคุณค่าก็เพราะ ชาระขันธ์ห้าให้บริสุทธิ์ คาว่า “คน” เป็นบัญญัติช่ือเรียกของกลุ่มขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งเป็นสิ่งที่มาประกอบกันตามเหตุ ตามปัจจัย การรักษาขันธ์ 5 ไว้ก็มีประโยชน์เพียงเพื่อที่เราจะได้เข้าใจว่าการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 เป็นความทุกข์ และการที่จะได้ปล่อยวางส่ิงเหล่านี้ เป็นสิ่งที่นาไปสู่การพ้นทุกข์ได้คือเข้าถึงพระนิพพาน อันเป็นคุณธรรมท่ีประเสริฐท่ีสุดเพื่อพ้นจากความเกิด ความเจ็บ ความตาย ซึ่งเราเข้าถึงได้ ถา้ ปฏบิ ตั ติ ามขน้ั ตอนทพี่ ระพทุ ธเจา้ วางไว้ เพมิ่ คณุ ภาพของจติ ของตน จนไดเ้ หน็ สง่ิ ทมี่ คี ณุ คา่ สงู สดุ ทชี่ วี ติ หนงึ่ จะพงึ เหน็ ได้ เปน็ ปญั ญาทเี่ หน็ พระนพิ พาน
การนั่งสมาธิพิจารณาดูในกายของเรา ให้จิตอยู่กับปัจจุบันก็คือร่างกายของเรา เมื่อหลงไปกับความคิดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอดีตหรือ เรื่องอนาคต ดึงเราไปจากปัจจุบัน เราก็มาฝึกสังเกตเท้าที่สัมผัสกับพื้น และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สังเกตลมหายใจเข้าออก ตั้งแต่ปลายจมูกไปจนถึง สะดือ หายใจออกเริ่มจากการเคลื่อนไหวตรงสะดือไล่มาจนถึงปลายจมูกหรือริมฝีปากบน สติมีฐานเรียกว่าสติปัฏฐานอยู่กับกาย คือลมเข้าลมออก เราสร้างสติหรือความสุขได้ง่ายๆ ถ้าเรารู้จักอยู่กับกาย จิตใจมันก็จะเกิดความสงบ มีความรู้สึกตัวเบาๆ เย็นสบาย มีปีติปราโมทย์จากการได้อยู่กับ อารมณเ์ ดยี วทเี่ ปน็ กศุ ลอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ถา้ ฝกึ ไดอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื งจติ จะเกดิ ปตี ปิ ราโมทย์ เกดิ ความสขุ ทเี่ ราสมั ผสั ได้ เกดิ ความผอ่ นคลายทง้ั กายทงั้ ใจ เมอื่ มี สมาธจิ ติ ตงั้ มนั่ เรยี กวา่ เปน็ คณุ ภาพจติ ทเี่ ราสมั ผสั ได้ หรอื อาจจะใชว้ ธิ นี บั เลขกา กบั เขา้ 1 ออก 2 ไปจนถงึ 8 แลว้ ยอ้ นกลบั มาเรม่ิ ใหม่ หรอื อาจบรกิ รรม พุท-โธ กากับก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ท่ีไหนเรามีลมหายใจใช้ฝึกสติอยู่กับปัจจุบันได้เสมอ กายที่อยู่กับปัจจุบันเป็นห้องเรียนของสติ สติดูกายที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอัตตาไปควบคุมได้ เป็นตามธรรมชาติท่ีเกิดมาแล้วก็มีหายใจเข้าออก จะให้เข้าหรือให้ออกอย่างเดียวนั้นทาไม่ได้ เป็นความทุกข์บีบคั้น การที่มีทุกข์บีบค้ันตลอดเวลาเรียกว่าการเห็นไตรลักษณ์หรือลักษณะของสังขารทั้งปวง ท้ังลมที่เราเห็น ทั้งร่างกายที่ลมอาศัยอยู่ก็มีการเกิดข้ึน ต้ังอยู่ ดับไปอย่างนี้ท้ังน้ัน ส่วนสติที่เข้าไปรู้ก็มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เราไปอาศัยระลึกรู้เท่านั้นเองเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้ สติก็เกิดข้ึนและดับไป ตามเหตุตามปัจจัย เมื่อปัจจัยหมดก็ดับเรานามาใช้เพื่อพัฒนาสติและปัญญาเพื่อความเข้าใจสังขารนี้ ปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ หน้าที่ของเราก็คือ ทาความเข้าใจว่าขันธ์ 5 เหล่านี้ไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ถึงเวลาก็ต้องคืนเขาไปตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเข้าใจความจริงนี้จนทะลุ ปรุโปร่ง จิตจึงน้อมเอียงไปในนิพพาน สลัดคืนขันธ์ทั้งหมดเรียกว่าขันธวิมุติ พ้นไปจากวงจรการเวียนว่ายตายเกิดของขันธ์ เพราะว่าความสุข ที่เราไปฝากไว้กับขันธ์นั้นไม่ปลอดภัย ต้องหาความสุขท่ีไม่ข้ึนอยู่กับขันธ์ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ความสุขของจิตที่มีความเห็นชอบเป็นความสุขสงบ ท่ีสมบูรณ์ จิตท่ีเข้าใจความจริงของสัพพะสังขารทั้งหลาย เข้าใจความจริงของพระนิพพานพ้นจากขันธ์ทั้งหลาย เป็นสิ่งท่ีฝึกได้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “โอกาสท่ีจะได้เป็นมนุษย์นั้นหายาก ความเป็นอยู่ของมนุษย์ท่ีรอดจากการทามาหากินก็หายาก การเกิดของพระพุทธเจ้าก็หายาก การได้ฟัง พระสัทธรรมก็หายาก” ดังนั้นอย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยที่ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ พระพุทธเจ้าก็เป็นได้เพียงผู้บอกทางเท่านั้นหากเราไม่ได้เอา ส่ิงเหล่านี้มาปฏิบัติเราก็พลาดโอกาสของการเป็นชาวพุทธ ฉะน้ันในฐานะของพวกเราที่โชคดีแล้ว ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ท่ีมีความสมบูรณ์ ไม่บ้าใบ้ บอดหนวกสามารถเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมได้ก็ควรที่จะศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าเอาไว้
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 55