Page 23 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 23

ั
                                                          ิ
                                                                ์
                    โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
                         ิ
                                       ั
                                                                    ็
           การวางมาตราส่วน (ไม้บรรทัด หรือเทปวัดระยะ) และต้องถ่ายในมุมตั้งฉากกับภาพ ซึ่งจะทำให้
           ผู้เห็นภาพทราบถึงขนาดของของวัตถุพยานชิ้นนั้น และจะทำให้ขนาดหรือมาตราส่วนของ
           วัตถุพยานไม่ผิดจากความเป็นจริง ขั้นตอนการถ่ายภาพมีรายละเอียด ดังนี้
                      1)  สถานที่เกิดเหตุในแต่ละคดีมีความแตกต่างกัน เจ้าหน้าที่จะต้อง
           ถ่ายภาพให้ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน
                      2)  ควรถ่ายภาพบริเวณที่มีฝูงชน เพราะบางครั้งผู้กระทำผิดอาจจะ

           อยู่ในกลุ่มฝูงชน
                      3)  ก่อนถ่ายภาพควรวางป้ายหมายเลขกำกับของวัตถุพยานที่สำคัญ
           เพื่อแสดงตำแหน่งของวัตถุพยานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ










                                ภาพที่ 2 การถ่ายภาพระยะใกล้

                      4)  การถ่ายภาพในสถานที่เกิดเหตุ อันดับแรกต้องเริ่มถ่ายจากบริเวณ

           รอบ ๆ ของสถานที่เกิดเหตุ โดยถ่ายในระยะไกล เพื่อให้เห็นถึงสภาพสถานที่เกิดเหตุ
           โดยรอบ ครอบคลุมสภาพหรือพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องมีป้ายกำกับตำแหน่งของ
           วัตถุพยาน  จากนั้นจึงถ่ายเข้าหาบริเวณศูนย์กลางของที่เกิดเหตุ

                      5)  ขณะถ่ายภาพห้ามเคลื่อนย้าย หรือแตะต้องวัตถุพยานโดดเด็ดขาด
           เพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุพยานสูญเสียหรือเสียหายไป
                      6)  ภาพหลังจากการเก็บวัตถุพยานตามหลักการแล้ว อาจมีการนำ
           วัตถุพยานทั้งหมดมารวมกันและถ่ายภาพวัตถุพยานทั้งหมดอีกครั้ง




           22          คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28