Page 19 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 19
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ิ
็
ิ
ั
2) สภาพของสถานที่เกิดจะแตกต่างกันออกไปตามอาชญากรรมในแต่ละคดี
ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุหลักทั่วไป จะต้องดำเนินการตรวจจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย
จากภายนอกสู่ภายในจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง เพื่อป้องกันการทำลายวัตถุพยาน
3) สังเกตวัตถุพยานโดยไม่ทำการหยิบหรือสัมผัสวัตถุพยานนั้น ๆ
4) ทำการจดบันทึกวัตถุพยานที่พบ ลักษณะสถานที่เกิดเหตุ รวมไปถึง
สภาพแวดล้อมทั่วไป และควรบันทึกวัตถุพยานที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไม่คงทนถาวร เชน
่
กลิ่น อุณหภูมิ สภาพของแสงไฟ สีของเปลวไฟ เป็นต้น และทำการจดบันทึกวัตถุพยาน
ตามสภาวะหรือลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น การเปิด-ปิดของประตู หน้าต่าง หรือ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
5) เมื่อตรวจพบวัตถุพยานที่อาจสูญหายหรือเสื่อมสภาพได้ง่าย ได้แก่
วัตถุพยานที่ไม่คงทนถาวร และวัตถุพยานตามสภาวะ ให้ถ่ายภาพทุกมุมของตำแหน่งที่พบ
และทำการจดบันทึกสภาพ วาดภาพแสดงพิกัด ตำแหน่ง และทำการเก็บวัตถุพยาน
ชิ้นดังกล่าว
6) กรณีพบศพ พนักงานสอบสวนต้องประสานงานร่วมกับแพทย์นิติเวช
ผู้รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เพื่อทำการชันสูตรพลิกศพ หากเป็นกรณีเสียชีวิตเกิดขึ้น
โดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือเสียชีวิตในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ต้องแจ้งพนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครอง
เข้าร่วมชันสูตรพลิกศพด้วย พร้อมนี้ เจ้าหน้าที่ต้องรักษาสภาพเดิมของศพไว้ ห้ามเคลื่อนย้าย
เป็นอันขาด หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายศพ ให้เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพ และจดบันทึกรายละเอียด
ของลักษณะที่เกิดเหตุ รวมถึงตำแหน่งของศพนั้นด้วย
7) กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บให้จดบันทึกตำแหน่งที่มีการเคลื่อนย้าย หรือจับต้อง
และนำส่งผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
18 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน