Page 15 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 15
์
็
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
ิ
ั
ั
5) พิจารณาว่าสถานที่เกิดเหตุอยู่ภายในอาคารหรือ ภายนอกอาคาร
เพราะขั้นตอนการปฏิบัติงานอาจแตกต่างกัน รวมถึงให้พิจารณาด้วยว่าสถานที่เกิดเหตุ
อยู่ในที่ทุรกันดารหรือไม่เพื่อประเมินว่ามีทรัพยากรอะไรที่สามารถนำมาใช้ในการตรวจ
สถานที่เกิดเหตุ
6) พิจารณาว่าต้องมีการแจ้งให้ผู้ใดทราบเพิ่มเติม
7) พิจารณาว่าการตรวจสถานที่เกิดเหตุต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษเพิ่มหรือไม่
เพื่อจะได้ประสานงานได้ทันท่วงที
8) พิจารณาว่าสภาพอากาศ เพื่อหาวิธีป้องกันหรือบรรเทาไม่ให้สภาพอากาศ
ทำลายวัตถุพยานได้
9) พิจารณาลักษณะการกระทำผิด ลักษณะคดี เพื่อร่วมกับเจ้าหน้าที่พิสูจน์
หลักฐานในการวางแผนตรวจสถานที่เกิดเหตุ กรณีเป็นคดีธรรมดา เช่น ลักทรัพย์
จราจร พนักงานสอบสวนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนจะเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุ
และพนักงานสอบสวนจะดำเนินการป้องกันสถานที่เกิดเหตุ เก็บรวมรวมพยานหลักฐาน
ตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ในกรณี
คดีอุกฉกรรจ์ ฆาตกรรม ข่มขืนกระทำชำเรา เพลิงไหม้ พนักงานสอบสวนจะร้องขอ
ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้าหรือวิศวกรที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า กองพิสูจน์
หลักฐานกลาง ให้เข้าร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน
เข้าเก็บรวบรวมพยานหลักฐานสำคัญ ในกรณีมีผู้เสียชีวิตประสานงานไปยังแพทย์นิติเวช
เพื่อตรวจพิสูจน์ศพ
14 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน