Page 10 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 10
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
็
ั
ิ
์
วัตถุประสงค์ของคู่มือ
1. เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา
ประสิทธิภาพการจัดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีเด็กและเยาวชน
2. เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและเทคนิคการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในการดำเนินการตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีเด็กและเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์จากคู่มือฉบับนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เชน พนักงาน
่
สืบสวนสอบสวน ผู้เกี่ยวข้องที่ต้องปฏิบัติงานด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุและ
การตรวจพิสูจน์หลักฐาน
ประโยชน์ที่ได้รับจากคู่มือ
ได้แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อ
การรวบรวมพยานหลักฐานในคดีเด็กและเยาวชน ส่งผลให้การดำเนินงานด้านการจัดการ
วัตถุพยานเป็นระบบ มีมาตรฐาน อันจะนำไปสู่การลดขั้นตอนในการสอบสวน โดยมุ่งเน้น
ให้วัตถุพยานเป็นกุญแจสำคัญในการสะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เสมือนการบอกเล่า
เรื่องราวของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการสอบสวนในประเด็นเดิม ซึ่งอาจส่งผล
กระทบกระเทือนจิตใจของเด็กและเยาวชน
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 9