Page 9 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 9
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
็
ิ
์
ิ
ั
จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้โดยปราศจากเหตุสงสัย ผู้พิพากษาศาลจึงจะรับ
พยานหลักฐานดังกล่าวนั้นไว้พิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด การรวบรวมพยานหลักฐาน
จะทำโดยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้ง พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ แพทย์ ผู้ตรวจ พิสูจน์
ทางนิติวิทยาศาสตร์ ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องรวบรวมและตรวจสอบ
พยานหลักฐานอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้นำตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง
มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากพื้นฐานของพยานหลักฐานทางด้าน
นิติวิทยาศาสตร์และมาจากการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิด
่
เป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ในกระบวนการยุติธรรมจึงนำมาเป็นเครื่องมือในการชวย
คลี่คลายคดีอาชญากรรมในกลุ่มคดีความผิดเกี่ยวกับร่างกายและชีวิตที่ปัจจุบัน
มีคดีสะเทือนขวัญและมีรูปแบบของคดีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
จากความสำคัญข้างต้น จึงนำไปสู่การแสวงหาแนวทางการพัฒนา
การจัดการและการวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีเด็กและเยาวชน และ
ได้จัดทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นคู่มือสำหรับการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานทางด้าน
นิติวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องดำเนินการในสถานที่เกิดเหตุในคดีเด็กและเยาวชน
อันจะนำไปสู่การลดขั้นตอนในการสอบปากคำโดยมุ่งเน้นให้วัตถุพยานเป็นกุญแจสำคัญ
ในการสะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เสมือนการบอกเล่าเรื่องราวของเด็กและเยาวชน
ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการสอบสวนในประเด็นเดิม ซึ่งอาจส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจของ
เด็กและเยาวชน รวมถึงส่งผลให้การดำเนินงานด้านการจัดการวัตถุพยานเป็นให้เป็น
และระบบและมีมาตรฐาน อันจะเป็นกระบวนการส่งเสริมประสิทธิภาพและสามารถ
อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
8 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน