Page 6 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 6
ั
ิ
์
ิ
็
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ส่วนที่ 1
บทนำ
ความสำคัญ:
เด็กและเยาวชน ซึ่งความหมายของ "เด็ก" หมายความว่า บุคคลอายุ
เกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ "เยาวชน" หมายความว่า บุคคลอายุเกิน
14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
มาตรา 4) ซึ่งคดีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กรณีผู้เสียหายหรือ
พยานเป็นเด็กและเยาวชน กรณีผู้ต้องหาเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรณีใด
ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเด็กหรือเยาวชนย่อมได้รับสิทธิในการปกป้องคุ้มครอง
ทั้งในแง่ที่เด็กเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา และในแง่มุมที่เด็กตกเป็นผู้เสียหาย
ตามหลักการคุ้มครองสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989
1) กรณีผู้เสียหายหรือพยานเป็นเด็กหรือเยาวชน เมื่อมีการกระทำ
ความผิดอาญาเกิดขึ้นกับผู้เสียหายที่เป็นเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องตกเป็นผู้ได้รับผลร้ายจาก
การกระทำผิดอาญาทั้งร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในบางกรณีนั้นไม่สามารถที่จะเยียวยาให้
กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เช่น การถูกฆ่า ถูกข่มขืน ถูกทำให้พิการ เป็นต้น ตลอดจน
ผลกระทบทางด้านจิตใจที่หวาดกลัวต่อการถูกกระทำ ภายหลังจากการตกเป็นเหยื่อของ
ผู้กระทำผิด เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องคำนึงถึง
สภาพจิตใจ และไม่ให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กมากที่สุด ในทางกลับกัน หากบุคคล
เหล่านี้ไม่ได้รับการเหลียวและและเอาใจใส่มากเท่าที่ควร กลับได้รับการปฏิบัติไม่แตกต่าง
จากการเป็นเพียงพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ทำให้การดำเนินคดีอาญานั้นบรรลุผลเท่านั้น
ความรุนแรงสามารถส่งผลกระทบอย่างทันทีต่อพวกเด็กและเยาวชนได้ตั้งแต่อาการ
บาดเจ็บทางกาย พัฒนาการ ความสามารถในการเรียนรู้ และผลการเรียนของเด็ก และ
อาจส่งผลเสียระยะยาวที่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่ ในประเทศไทยมีเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 5