Page 8 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 8

ั
                                                       ์
                                                 ิ
                                                           ็
           โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
                ิ
           ร่างกาย 2,879 คดี และความผิดเกี่ยวกับเพศ 1,266 คดี นอกจากนี้เป็นการกระทำผิด
           ในฐานอื่น ๆ นับว่าเป็นปัญหาสังคมที่ยังมีความรุนแรง (กรมพินิจฯ ศูนย์ปฏิบัติการกรม
           ข้อมูลสถานพินิจฯ ระบบงานคดีอาญา (CM) ข้อมูล ณ ปี พ.ศ.2559-2560)

                     จากข้อมูลแสดงจำนวนตัวเลขข้างต้นย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการกระทำผิด
           ของเด็กและเยาวชนนั้นยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งสาเหตุของการกระทำของเด็กและ
           เยาวชนอาจมีมูลเหตุจูงใจหลายประการ เนื่องจากเด็กมีวุฒิภาวะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่หรือ

           ผู้อาวุโส ทั้งด้านการเรียนรู้ เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดจากความเยาว์วัย
           การขาดโอกาสในการศึกษา การไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ดีเพียงพอ ตลอดจน
           เด็กและเยาวชนยังเป็นผู้อ่อนวัย อ่อนต่อประสบการณ์ จึงควรได้รับโอกาสปรับปรุง หรือ

           แก้ไขตนเอง และสำนึกในการกระทำผิดที่ตนได้กระทำขึ้น ด้วยวิธีการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรม
           มากกว่าการนำตัวเด็กและเยาวชนมาลงโทษ
                     ตำรวจเป็นหน่วยงานแรกของกระบวนการยุติธรรมที่ต้องทำหน้าที่เกี่ยวข้อง

           กับเด็กและเยาวชน ซึ่งตำรวจเสมือนเป็นต้นธารตั้งแต่การรับเด็กเข้าสู่กระบวนการ
           การดำเนินคดีอาญา โดยเริ่มตั้งแต่การจับกุมสู่กระบวนการสอบสวน ตำรวจจึงถือได้ว่าเป็น
           หัวใจสำคัญและเป็นบันไดขั้นแรกของกระบวนการยุติธรรมที่มีบทบาทสำคัญในการ
           รวบรวมพยานหลักฐานส่งให้แก่พนักงานอัยการคดีเด็กและเยาวชนพิจารณาสั่งฟ้องคดีไป

           ยังศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งประเทศไทยมีพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว
           และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ที่มุ่งเน้นการให้ความคุ้มครองสิทธ ิ
           สวัสดิภาพ และวิธีปฏิบัติต่อเด็ก และเยาวชน สตรี และครอบครัว ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์

           ไว้ค่อนข้างมาก เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชน มิให้ได้รับผลกระทบ
           ต่อชื่อเสียงหรือจิตใจระหว่างที่มีการดำเนินคดีอาญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำพยานหลักฐาน
           ด้านนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการคลี่คลายคดีมากขึ้น
                     ปัจจุบันประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนจากการเน้นความสำคัญของประจักษ์

           พยานมาสู่ระบบพิสูจน์การกระทำความผิดโดยการรับฟังพยานหลักฐานทางด้าน
           วิทยาศาสตร์ เมื่อเกิดการกระทำความผิดเกิดขึ้น โจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์หา
           พยานหลักฐานมาประกอบสำนวน โดยพยานหลักฐานที่จะนำมาใช้ ในการพิจารณาคดี



                       คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน   7
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13