Page 30 - E-BOOKวิชาทักษะการเรียนรู้ ทร31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
P. 30

E-BOOK
          29



                        คุณธรรม จริยธรรม : องค์ประกอบที่ส าคัญของการคิดแก้ปัญหาแบบคนคิดเป็น
                                       คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงามที่เกิดจากส่วน

                        ร่วมของการศึกษา การปฏิบัติ ฝึกอบรม และการกระท าจนเคยชินเกิดเป็นลักษณะนิสัย
                        เป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์ ต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อสังคม

                                       จริยธรรม หมายถึงสิ่งที่เชื่อกันว่า เป็นความดีงามที่ควรยึดเป็นหลักใน
                        การประพฤติ ปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อสังคม ทั้งการกระท าด้วยกายและ
                        ตระหนักด้วยใจ






                 คุณธรรมและจริยธรรมมีความส าคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของความ
                 เจริญรุ่งเรืองของสังคม และเป็นสิ่งที่ก าหนดความเจริญและความล่มสลายของ

                 สังคม ดังนั้น ผู้บริหารประเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักและเล็งเห็น
                 ความส าคัญในการที่จะแก้ปัญหา เร่งพัฒนาจิตใจและพฤติกรรมของบุคคลในทุก

                 ระดับชั้นร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาคุณธรรมและจริยธรรมในสังคม และ
                 หาทางปลูกฝังให้บุคคลในสังคมมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้บุคคลสามารถที่จะ
                 ด ารงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข





                     คุณธรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิต ได้แก่

                     อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ในการด าเนินชีวิตของบุคคล
                     หรือการท างานในกิจการต่าง ๆ มักจะประสบกับปัญหาและอุปสรรคนานาประการ
                     ซึ่งถ้ามีหลักธรรมต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเป็นหลักยึดเพื่อการประพฤติปฏิบัติ บุคคล

                     ผู้นั้นก็ย่อมจะผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ และประสบความส าเร็จในท้ายที่สุด
                        1) ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจที่เกิดขึ้น เนื่องจากสาเหตุนานาประการ

                        2) สมุทัย คือ เหตุที่ท าให้เกิดทุกข์ ซึ่งเกิดจากตัณหาทั้งหลาย
                        3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหาให้หมดจะเป็นภาวะที่ปลอดทุกข์
                        4) มรรค คือ วิถีทางในการดับทุกข์ ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ทาให้ทุกข์หมดไป




















                                   โดยครูวัชรีพรรณ  จันทร์หอม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35