Page 5 - ใบความรู้ หน่วย 7 -1
P. 5

4.  ลักษณะของใบเลื่อย  เป็นส่วนใบประกอบที่สำคัญในการตัดเฉือนชิ้นงานให้ขาดออกจากกันโดยมี
               รายละเอียดดังนี้

                   4.1  การบอกขนาดความยาวใบเลื่อย   โดยทั่วไปแล้วการบอกความยาวของใบเลื่อย จะวัดจากจุด
               ศูนย์กลางรูของใบเลื่อยทั้ง 2 ข้าง ปกติจะมีขนาด  8 , 10 , 12 นิ้ว













                                            รูปที่  7.7 แสดงลักษณะของใบเลื่อยมือ





                                                  ความยาวของใบเลื่อย

                                            รูปที่  7.8 แสดงความยาวของใบเลื่อยมือ

                 4.2  การกำหนดความหยาบละเอียดของใบเลื่อย
                    4.2.1  ระยะพิตซ์ คือระยะห่างระหว่างยอดฟัน โดยระยะพิตซ์นี้จะเป็นตัวกำหนดความหยาบละเอียด
               ของใบเลื่อย
                    4.2.2  จำนวนฟันต่อนิ้ว  เป็นการบอกจำนวนฟันเลื่อย ในระยะ 1 นิ้วมีจำนวนกี่ฟัน เช่น

               18 ฟันต่อ นิ้ว  24 ฟันต่อนิ้ว






                                    รูปที่  7.9 แสดงการกำหนดความหยาบละเอียดของใบเลื่อย
                   4.3  มุมของฟันเลื่อย ในการเลื่อยแต่ละครั้ง  เลื่อยจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตัดพร้อมแรงกด แรงกดตัดนี้จะ

               ทำให้ฟันเลื่อยจมลงไปในเนื้อวัตถุ และกัดออกเป็นเศษวัสดุเล็กๆ เศษวัสดุจะอยู่ในช่องฟันจะหลุดออกไปตาม
               รอยเลื่อยส่วนเศษวัสดุที่อยู่บนผิวงานจะถูกเก็บไว้ในช่องเก็บเศษซึ่งเกิดจากมุมของฟันเลื่อย ซึ่งมุมต่างๆของฟัน
               เลื่อย  และระยะห่างระหว่างฟันเลื่อย (Pitch) จะมีค่าตามความต้องการในการใช้งาน โดยคำนึงถึงความแข็ง
                                                                                                 ้
               ของเนื้อวัสดุ ชนิดและคุณภาพงานส่วนกำลังตัดและแรงที่ใช้ในการเลื่อยก็ขึ้นอยู่กับมุมของฟันเลื่อยดวย โดย
               มุมของฟันเลื่อยประกอบด้วยมุมต่อไปนี้
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10