Page 6 - ใบความรู้ หน่วย 7 -1
P. 6

รูปที่  7.10 แสดงลักษณะมุมของฟันเลื่อย
                    4.3.1  มุมลิ่ม (β)  เป็นมุมที่กินเนื้องานและปะทะกับเนื้องาน ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคมสกัด คมสิ่ว คม
               มีด และคมขวาน ถ้างานแข็ง ต้องการใช้ฟันเลื่อยที่แข็งแรง ฉะนั้นมุมลิ่มควรจะโตเพื่อเพิ่มความแข็งแรง  แต่

               ถ้างานอ่อนมุมลิ่มจะน้อย เพราะต้องการความคมมาก เช่น มุมลิ่มของมีด เป็นต้น
                    4.3.2  มุมคาย ()  เป็นมุมที่ทำหน้าที่คายเศษวัสดุ

                    4.3.4  มุมฟรีหรือมุมหลบ (α)  เป็นมุมที่ลดการเสียดสีระหว่างใบเลื่อยกับชิ้นงาน
               5.  เทคนิคการใช้เลื่อยมือ
                 การเลื่อยชิ้นงานให้ขาดออกจากกันเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการ
               เลื่อยให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและชิ้นงานไม่เกดความเสียโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

                 5.1  การใส่ใบเลื่อย  ขั้นตอนแรกตรวจตอบใบเลื่อยว่ามีความละเลียดหรือหยาบเหมาะสมกับวัสดุที่จะตัด
               หรือไม่ โดยปกติใช้ 18 และ 24 ฟันต่อนิ้ว




                                             รูปที่  7.11 แสดงลักษณะของใบเลื่อย
                 5.2  การประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย  ให้นำรูของใบเลื่อยใส่เข้าไปในขอเกี่ยวใบเลื่อยทั้งสองข้าง โดย
               ให้ฟันของใบเลื่อยชี้ไปข้างหน้าของโครงเลื่อย  จากนั้นหมุนเกลียวใบเลื่อยให้ดึง










                     รูปที่  7.12 แสดงลักษณะการใส่ใบเลื่อย                    รูปที่  7.13 แสดงเกลียวตึงใบเลื่อย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11