Page 8 - ใบความรู้ หน่วย 7 -1
P. 8

5.6  เริ่มการเลื่อยตัด  โดยให้ตัดด้านนอกของเส้นและให้ขนานกับเส้นที่ร่างแบบไว้









                                        รูปที่  7.17 แสดงลักษณะการเลื่อยจังหวะเริ่มต้น
                 5.7  ใช้แรงในการเลื่อยโดยเคลื่อนใบเลื่อยไปข้างหน้าขณะเลื่อยออกแรงกดพอประมาณ ชักไป กลับให้

               ต่อเนื่องประมาณ 40-60 ครั้งต่อนาที
                 5.8  ให้สังเกตชิ้นงานเมื่อชิ้นงานใกล้ขาดแล้วให้ผ่อนแรง  เพื่อป้องกันการเกอุบัติเหตุจากรอยเลื่อย
               6.  การแก้ไขข้อบกพร่อง ข้อควรระวัง และการบำรุงรักษาเลื่อยมือ
                  6.1  เมื่อคลองเลื่อยเริ่มเอียงไม่ตรง ให้ขันใบเลื่อยให้ตึงเพิ่มอีกและเริ่มต้นตำแหน่งที่จะเลื่อยใหม่และรักษา

               มุมของใบเลื่อยให้ได้ฉากกับชิ้นงาน
                  6.2  กรณีใบเลื่อยหัก มีสาเหตุจากการเคลื่อนที่ใบเลื่อยไม่คงที่สะบัดไปมาหรืออาจหมุนใบเลื่อยตึงเกินไป
               วิธีการแก้ไข  ให้เปลี่ยนใบเลื่อยใหม่หมุนใบเลื่อยให้ตึงพอประมาณ ขณะทำการเลื่อยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าให้

               ควบคุมลำตัวและท่อนแขนให้มั่นคงไม่สบัดไปมา
                  6.3  ในการเลื่อยหากเสียงดังให้เลื่อนชิ้นงานให้ต่ำลงและขันชิ้นงานให้แน่น
                  6.4  ควรเลื่อนชิ้นงานให้ยาวตลอดความยาวของแนวเลื่อยไม่ควรเริ่มต้นใหม่
                  6.5  กรณีชิ้นงานยาวจำเป็นต้องปรับใบเลื่อยกับโครงให้ตั้งฉากกัน
                  6.6  ขณะทำการเลื่อยไม่ควรบิด หรือกระแทกโครงเลื่อย เพราะจะทำให้ใบเลื่อยหักได  ้

                  6.7  เมื่อชิ้นงานขาดไม่ควรจับชิ้นงาน เนื่องจากชิ้นงานมีความร้อน ควรปล่อยให้ชิ้นงานเย็นตัวลงสักครู่
                  6.8  เมื่อเลิกใช้งาน ให้คลายเกลียวของสกรูเพื่อรักษาความแข็งแรงของใบเลื่อยและโครงเลื่อย
                  6.9  ทำความพื้นที่บริเวณที่ปฏิบัติงาน และโครงเลื่อยทุกครั้ง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13