Page 2 - พฤศจิกายน 2564
P. 2

“ การศึกษาพัฒนาคน ”



                            นายธีระวัฒน์ อัตตโยธิน

                            กศ.บ, ศษ.ม. (บริหาร), ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
                            อาจารย์พิเศษ/ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (ปราจีนบุรี)
                            นายคึกฤทธิ์ อัตตโยธิน ศศ.บ., ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)






                                   “หลักธรรม ๕” ข้อควรปฏิบัติ



            “หลักธรรม ๕” (เบญจธรรม) คือ หลักธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักศีล ๕ ที่เรียกว่า “เบญจธรรม” แปลความว่า

       “หลักปฏิบัติที่ทรงสัตว์โลกไว้ไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว” เป็นความประพฤติที่ดีงาม ๕ ประการ ทั้งนี้ เบญจธรรมจะเป็นสิ่งอุดหนุนศีลให้
       สมบูรณ์ เกื้อกูล แก่การรักษาศีล ๕ (เบญจศีล)

            “หลักธรรม ๕” ข้อควรปฏิบัติ
            ๑. “เมตตากรุณา”
            เมตตา แปลว่า ความรักใคร่ ปรารถนาให้เขาเป็นสุข

            กรุณา หมายถึง ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
            “เมตตา” มีอาการประพฤติเกื้อกูล ซึ่งความเกลียดชังเป็นอกุศลจิตไม่ใช่เมตตา ส่วน “กรุณา” เป็นเหตุแห่งมนุษย์และ

       สัตว์คิดช่วยเหลือกันเปลื้องทุกข์ภัยแก่กัน และลักษณะของผู้มีความกรุณาดูได้จาก “เป็นคนเสียสละไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้”
       มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่คนอื่นและสังคม
            ๒.  “สัมมาอาชีวะ”  หมายถึง  “การเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ”  คือ  เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด  เช่น  โกง  หลอกลวง

       บังคับขู่เข็ญ ค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น
            การงานที่ควรหลีกเลี่ยงมี ๒ ลักษณะ คือ

                  ๑. การงานอันประกอบด้วยโทษ แม้เป็นอุบายให้ได้ทรัพย์มามาก ก็ควรหลีกเลี่ยง อันได้จากการค้าขายต้องห้าม ๕
                                                                                                        ้
       ประการ  (๑) การค้าขายศัสตราวุธ (๒) การค้าขายมนุษย์ (๓) การค้าขายเนื้อสัตว์ (สัตว์ที่นำาไปฆ่า) (๔) การค้าขายนาเมา (๕)
                                                                                                        ำ
       การค้าขายยาพิษ
                  ๒. การงานที่เสี่ยงโชค ได้แก่ การพนัน
            ๓.  “กามสังวร”  แปลว่า  “ความสำารวมในกาม”  หมายถึง  การรู้จักเหนี่ยวรั้งตนเอง  รู้จักยับยั้งชั่งใจในเรื่องกามารมณ์

       การสำารวมระวังไม่ล่วงละเมิดคู่ครองของบุคคลอื่น  “การประพฤติมักมากในกามย่อมไม่มีสง่าราศรีตกอยู่ในมลทินได้รับการติ
       เตียนนินทาจากผู้อื่น”
            ความสำารวมในกามแบ่งตามเพศได้เป็น ๒ ประเภท คือ

                  ๑. สทารสันโดษ  หมายถึง  ความพอใจด้วยภรรยาตน
                  ๒. ปริวัติ  หมายถึง ความจงรักภักดีในสามีตน
                                                                             ้
                                                                             ำ
            ๔.  “สติสัมปชัญญะ”  เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนทำาให้เกิดการงดเว้นการดื่มนาเมา  “ให้มีสติ”  ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ
                                                                                 ้
                                                                                 ำ
       ป้องกันความเสียหายเบื้องต้น เป็นเหตุให้ฉุกคิด ยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม “หากขาดสติจากนาเมาและยาเสพติด ย่อมเป็นเหตุแห่ง
       ทำาการใดๆผิดพลาดเสียหายได้”
            “ศีล ๕” (เบญจศีล) ข้อควรละเว้น กับหลักธรรม ๕ (เบญจธรรม) ข้อควรปฏิบัติเป็นหลักธรรมคู่กัน อันเป็น “พื้นฐานของ
       ความเป็นคนให้สมบูรณ์” จึงควรที่ปุถุชนทุกท่านจะได้ประพฤติถือปฏิบัติด้วยกัน




      4   วารสารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
   1   2   3   4   5   6   7