Page 4 - พฤศจิกายน 2564
P. 4
“ พุทธวิถีไทย ”
ดร.กฤตสุชิน พลเสน
ศน.บ. ศาสนาและปรัชญา, M.A Philosophy, Ph.D.Philosophy
อาจารย์ประจำาหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
‘อสีติมหาสาวก : ๘๐ พระอรหันต์’
ตอนที่ ๑๒ พระมหากัสสปะ
พระมหากัสสปะมีนามว่า ปิปผลิ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านมหาติตถะ แคว้นมคธ วันหนึ่ง ปิปผลิไปตรวจนา
เห็นฝูงนกจิกกินไส้เดือน จึงถามบริวารว่าบาปของสัตว์พวกนั้นตกแก่ใคร บริวารว่าตกแก่ท่านปิปผลิ ท่านสังเวชใจว่าถ้าอกุศล
กรรมแบบนี้ตกแก่ท่านแล้ว ถึงเวียนว่ายตายเกิดสักพันชาติก็คงไม่พ้นทุกข์ กลับถึงบ้านแล้วจึงบอกภรรยาว่าจะออกบวช
ภรรยาของท่านก็จะออกบวชเช่นกัน ทั้งสองปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสายะ ตั้งใจออกบวชเพื่ออุทิศพระอรหันต์ในโลก แล้วออก
จากไปจนถึงทางแยกก็แยกกันเดินทาง ขณะที่แยกทางกันนั้นก็เกิดแผ่นดินไหว หลังจากบวชได้ครบ ๗ วัน เข้าวันที่ ๘ พระ
มหากัสสปะก็พบพระพุทธเจ้าขณะประทับที่พหุปุตตเจดีย์ พระองค์ประทานโอวาทแก่ท่าน ๓ ข้อ คือ มีหิริและโอตตัปปะ
อย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ ฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จัก
กระทำาธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิตมาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม ไม่ละกาย
คตาสติที่ประกอบด้วยความยินดี พระมหากัสสปะฟังแล้วก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากนั้นท่านนำาผ้าสังฆาฏิของตนปูถวาย
พระพุทธเจ้าให้ทรงประทับนั่ง พระพุทธเจ้าจึงประทานผ้าป่านบังสุกุลให้ท่านใช้แทน ขณะนั้นแผ่นดินก็ไหวขึ้นเพราะไม่เคยมี
มาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประทานจีวรที่ทรงใช้แล้วแก่พระสาวก พระมหากัสสปะประทับใจมากด้วยระลึกว่าท่านเป็น “บุตร
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ได้รับ
ผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว” พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว
ได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำาลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำานวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระ
มหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำาครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุผู้บวชเมื่อแก่รูปหนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าว
้
้
ขึ้นว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำาครวญเลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจำาจี้จำาไช
พวกเราอยู่ว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำาสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด
ก็จักไม่ทำาสิ่งนั้น พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้นก็ดำาริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำาให้เกิดความ
แปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำาสังคายนา ชักชวนพระอรหันต์เถระทั้งหลาย
ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำาสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำาสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคย
สนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำาสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม
ประมวลคำาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ ใช้เวลา ๗ เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้อุปถัมภ์ การสังคายนา
ครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธจึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำาสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ ตามคำาปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้า
อชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหา
กัสสปะเถระเป็นประธานทำาสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรม พระอุบาลีเป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งนั้นนับเป็นต้นกำาเนิดของพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ใช้ในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน
ภาพ : “ต้อนรับน้องใหม่ รุ่นที่ ๔” หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
ตำาบลศาลายา อำาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
6 วารสารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี