Page 3 - พฤศจิกายน 2564
P. 3

“ บทความทางกฎหมาย ”







                                                                           สิบโทสมศักดิ์ อุดมศักดิ์
                                                                  นิติกรชำานาญการพิเศษ สำานักงานอัยการภาค ๒







                                   ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน



          (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

               ๒.อุปกรณ์
               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗ บัญญัติไว้ว่า “อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยม

          เฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน  เป็นของใช้ประจำาอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อ
          ประโยชน์แก่การจัดดูแล  ใช้สอย  หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน  และเจ้าของทรัพย์ได้นำามาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำามา
          ติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำาโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

               อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
               อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำาหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

               เช่น  ซื้อรถยนต์ย่อมได้เครื่องอุปกรณ์  ยางอะไหล่  แม่แรง  เครื่องมือซ่อมรถยนต์ด้วย  เว้นแต่จะตกลงกันว่าไม่ให้เครื่อง
          อุปกรณ์ดังกล่าวด้วย
               ๓.ดอกผล

               ดอกผล หมายถึง สิ่งที่งอกเงยเพิ่มเติมขึ้นมาจากตัวทรัพย์ หรือเป็นผลผลิตของตัวทรัพย์ นั้นเอง  แบ่งออกได้ ๒ ประเภท คือ
                     ๓.๑ ดอกผลธรรมดา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้น
                                 ้
                                 ำ
          ตามปกตินิยม เช่น  ผลไม้ นานมสัตว์ ลูกสัตว์  ขนสัตว์ เป็นต้น ทรัพย์ที่เป็นดอกผลเหล่านี้สามารถถือเอาได้เมื่อเวลาขาดตกออก
          จากทรัพย์นั้นแล้ว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘ วรรคสอง)
                     ๓.๒ ดอกผลนิตินัย หมายถึง  ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเนื่องจาก

          การที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น ดอกผลเหล่านี้สามารถคำานวณและถือเอาได้ตามรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำาหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า
          เงินปันผล กำาไร หรือลาภอื่นใดที่ได้จากตัวทรัพย์นั้น  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘ วรรคสาม)

               ทรัพย์ใด  ที่เป็นดอกผลย่อมตกได้แก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น    ซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา
          ๑๓๓๖ ว่า “...เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำาหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น...”
               สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน

               สิทธิที่กฎหมายรับรองให้ผู้ทรงสิทธิได้รับประโยชน์  หรือมีอำานาจเหนือทรัพย์สินนั้น  เป็นสิทธิที่เรียกว่า  “สิทธิเกี่ยวกับ
          ทรัพย์สิน” ซึ่งหมายถึง ประโยชน์ หรืออำานาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคล มีอยู่เหนือทรัพย์สินต่าง ๆ แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ

          ทรัพยสิทธิ และบุคคลสิทธิ
                                                                                                   (อ่านต่อฉบับหน้า)











                                                                                     วารสารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 5
   1   2   3   4   5   6   7   8