Page 172 - Advande_Management_Ebook
P. 172
170 เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง
2. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะน�าความ
รู้ต่างๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและในขั้นปฏิบัติ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) น�าไปสู่
แนวคิดศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และแน่นอนที่ผู้บริหารในภาครัฐและ
ภาคเอกชนในสังคมไทย ควรจะพึงตระหนักในการที่จะน�าเอาหลักการบริหารจัดการ
ที่เป็นหลักนิยมต่างๆ ของต่างประเทศมาใช้ ควรที่จะกลับมาดูบริบทขององค์กรว่า
ควรจะอยู่ตรงไหนให้ชัดเจน และการจัดการอีกรูปแบบหนึ่งที่ควรน�ามาใช้คือ การ
จัดการแบบยั่งยืน (Sustainable Management)
กำรพัฒนำอย่ำงยั่งยืน (Sustainable Development)
การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นแนวคิดที่ได้รับการนิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ
1980 เป็นต้นมา โดยรายงานชื่อ “อนาคตร่วมของเรา” (Our Common Future)
หรือเรียกว่า “Brundtland” ได้นิยามการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ว่า หมายถึง วิถีการ
พัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความ
สามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง เป้าหมายสูงสุดของแนวคิดนี้
อยู่ที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโลก โดยยังสามารถรักษาระดับการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ไม่ให้เกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ และมุ่งเน้น
ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมหรือ Profit-People-Planet ใน
มุมมองของ Triple Bottom line ที่มีความเชื่อมโยงกัน
แนวความคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน
แนวคิดที่เป็นองค์ประกอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่
1. แนวคิดทางเศรษฐกิจ คือการที่ธุรกิจสามารถสร้างผลก�าไรให้มากที่สุด
โดยใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุด จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการใช้ประโยชน์สูงสุด
ให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ากัด ดังนั้น การ
พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนจะต้องเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้
เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพมีความสมดุล และเป็นประโยชน์ต่อ