Page 226 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 226
Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry
212 development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
หัวข้อย่อย 1.3 : ระบบนิเวศด้านวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (R&D, Innovation Ecosystem)
ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 : การจัดตั้งศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา
ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 : การตั้งศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ และสเกลอัพ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
ปัจจุบันการพัฒนาในชวง 5 ปีภายใต้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 นับเป็น 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20
่
ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) สู่การปฏิบัติดังนั้น การก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ จึงมุ่งเน้นประเด็นการพัฒนาที่
จะเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในระยะต่อไป เพื่อน าไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามกรอบ
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ ซึ่งยุทธศาสตร์เหล่านี้จะถูกน าไปด าเนินการโดยองค์กรต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องเพื่อแปลงเป็นแผนงานหรือนโยบายต่าง ๆ ต่อไป โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงสาธารณสุขที่มี
ความเกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัดต่ออุตสาหกรรมยา โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ ควบคู่กับการให้ความส าคัญ
กับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันกับชมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้มี
ุ
การจัดท าแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศรายจังหวัด ๑๕ จังหวัด เพื่อเป็นกรอบในการด าเนินงานทั้งด้านการ
บริหารจัดการและการด าเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และจะมีการขับเคลื่อนแผนไปสู่การ
ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเปูาหมายตามที่ก าหนดต่อไป
หน่วยงานด าเนินงานหลัก กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรอบระยะเวลาด าเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๒
โครงการพัฒนาระบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ระบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ
โดยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เครื่องจักรกล อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรม ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพในการใช้
ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ โดยในระยะแรกอาจใช้สถาบันเฉพาะทางภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ สถาบันไทย-เยอรมัน
เป็นหน่วยงานหลักในการด าเนินการก่อน
หน่วยงานด าเนินงานหลัก กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน ร่วมกับสถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัยที่
เกี่ยวข้อง
กรอบระยะเวลาด าเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2560 - 2562)
การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่ครบวงจร