Page 3 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 3
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา ก
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยมุ่งเน้นเพอผลิตยาสามัญ และแข่งขนกันด้วยราคา ในขณะที่ประเทศที่
ื่
ั
พัฒนาแล้วมุ่งเน้นการลงทุนการวิจัยและพัฒนายาเพื่อการแข่งขันด้านนวัตกรรมในตลาดโลก ค าถามที่ส าคัญ
คือ มาตรการด้านนโยบายที่มีความสอดคล้องอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมศักยภาพทางเทคโนโลยีของ
อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ และ เพิ่มการเข้าถึงยาของประเทศควรเป็นอย่างไร การศึกษาครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก ่
• เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ
• เพื่อประเมินความพร้อมด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ
• เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายต่อการเพิ่มความพร้อมด้านเทคโนโลยีฯ และค่าใช้จ่ายด้านยา
• เพื่อเสนอมาตรการในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศและการเข้าถึงยา
ทีมวิจัยใช้รูปแบบการประเมินผลกระทบฯ ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) สรุป
ผลการวิจัยดังนี้
1. สถานการณ์อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศไทย พบว่าแนวโน้มมูลค่าการผลิตและน าเข้ายาสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2538 สัดส่วนมูลค่าการผลิตยาในประเทศมากกว่าการน าเข้า คิดเป็นประมาณ 65:35
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 สัดส่วนดังกล่าวได้สลับด้านอย่างสมบูรณ์เป็น 35:65 สะท้อนแนวโน้มความมั่นคงด้าน
ยาที่ลดลงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาศักยภาพของผู้ผลิต น าเข้ายา แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)
ั
สิงห์โต กลุ่มศักยภาพการวิจัยพฒนาสูงและยอดขายสูงสุด 2) แพนด้า กลุ่มน าเข้ายาต้นแบบหรือยาสามัญเป็น
หลัก 3) โคอะล่า บริษัทที่มีการผลิตยาสามัญใหม่ต ่ากว่า 50% แต่ยอดขายขึ้นกับยาสามัญเป็นหลัก และ 4) แร็
คคูน กลุ่มน าเข้ายาสามัญใหม่เป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่ยอดขายไม่สูงมาก
2. พบความไม่สอดคล้องของนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยา การน าเข้าและถ่ายทอด
เทคโนโลยีการผลิต การสนับสนุนการลงทุน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลต่อความพร้อมในการพัฒนา
อุตสาหกรรมยา ทีมวิจัยเสนอชุดนโยบายเพื่อพฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ชุด
ั
นโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยี (complexity) และ ชุดนโยบายเพื่อขยายตลาด (scale) โดยมี
เป้าหมายนโยบาย เพื่อให้ “อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่สร้างรายได้ให้ประเทศ
โดยมีความเชื่อมโยงของการก าหนดนโยบายตลอดซัพพลายเชน น าไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านยา การ
ผลิตยา และมีความมั่นคงด้านยา”
3. ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโมโนโคลนอลแอนติบอดี พบว่าต้นทุนตาม
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็น
ต้นทุนคงที่ มีมูลค่าสูงถึง 705 - 890 ล้านบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ 1 ชนิด และใช้ระยะเวลานานถึง
8 - 10 ปี โดยกระบวนการที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การศึกษาทางคลินิก ซึ่งใช้ต้นทุนสูงถึง 360 - 420 ล้านบาท