Page 11 - BBLP ejournal2018.docx
P. 11

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                      การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมลูกผสม


                                                                               3/
                                                                 2/
                                                    1/
                                         สายัณห์ บัวบาน  จุรีรัตน์ แสนโภชน์  มนต์ชัย ดวงจินดา

                                                         บทคัดย่อ
                     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม (ค่าอัตราพันธุกรรม ค่าอัตราซ ้า และค่า

              สหสัมพันธ์) ของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่ส าคัญด้วยโมเดลตัวสัตว์แบบวิเคราะห์ทีละลักษณะและแบบวิเคราะห์ร่วม
              สองลักษณะทั้งโคสาวและแม่โคของประชากรโคนมลูกผสมในประเทศไทยและเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม

              ของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่มีข้อมูลไม่ต่อเนื่องด้วย Threshold animal model (TAM) กับ Linear animal model
              (LAM) โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลโคนมของส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ที่ได้รับการผสมเทียม

              และคลอดลูกในช่วงปี พ.ศ.2545-2558 ประกอบด้วยชุดข้อมูลความสมบูรณ์พันธุ์ส าหรับวิเคราะห์ทีละลักษณะ และ
              วิเคราะห์ร่วมสองลักษณะพร้อมกันภายในโคสาวและแม่โคจ านวน 71,515 และ 82,633 ข้อมูล (1.81 ข้อมูลต่อแม่โค)

              ตามล าดับ และชุดข้อมูลส าหรับวิเคราะห์ร่วมสองลักษณะพร้อมกันของลักษณะเดียวกันในโคสาวและแม่โคจ านวน

              148,269 ข้อมูลจากโค 50,804 ตัว ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่ศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย อายุเมื่อผสมเทียมครั้งแรก (AFS)
              อายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรก (AFC) ช่วงห่างจากคลอดถึงการผสมเทียมครั้งแรก (DTFS) ช่วงห่างจากการผสมเทียมครั้งแรก
              ถึงผสมติด (DFTC) ช่วงห่างจากคลอดถึงผสมติด (DO) ช่วงห่างการคลอดลูก (CI) จ านวนครั้งการผสมเทียมต่อการผสม

              ติด (NSPC) การผสมติดครั้งแรก (FSC) การตั้งท้องภายใน 56 วันหลังผสมเทียมครั้งแรก (P56) และการตั้งท้องภายใน 90

              วันหลังผสมเทียมครั้งแรก (P90) ผลการศึกษาพบว่าความสมบูรณ์พันธุ์ทุกลักษณะในโคสาวดีกว่าในแม่โคค่าอัตรา
              พันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ส่วนมากมีค่า 0.07 หรือน้อยกว่ายกเว้น AFS (0.18) และ AFC (0.17) สหสัมพันธ์
              ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะที่ศึกษาภายในโคสาวและแม่โคมีค่าปานกลางถึงสูง ยกเว้น AFS หรือ AFC กับลักษณะอื่นๆ

              ที่มีค่าต ่า ชี้ให้เห็นว่าการคัดเลือกลักษณะ DFTC หรือ DO ส าหรับโคสาว/แม่โคจะส่งผลท าให้ความสามารถในการผสมติด

              และตั้งท้องมีความก้าวหน้าทางพันธุกรรมมากที่สุด ดังนั้น DFTC หรือ DO สามารถใช้เป็นดัชนีส าหรับความสมบูรณ์พันธุ์
              โคสาว/แม่โคที่ดีที่สุด และร่วมกับลักษณะอื่นที่มีแตกต่างกันทางพันธุกรรม เช่น AFS (ในโคสาว) และ DTFS หรือ NSPC

              (ในแม่โค) ในรูปแบบของดัชนีความสมบูรณ์พันธุ์ (Fertility index) ซึ่งท าให้สามารถคัดเลือกลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ได้
              อย่างมีประสิทธิภาพ สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์เดียวกันระหว่างโคสาวและแม่โคมีค่า

              ตั้งแต่ต ่าถึงปานกลาง และมีค่าห่างไปจาก 1 ชี้ให้เห็นว่าลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวมีความแตกต่างทางพันธุกรรม
              จากลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในแม่โค ดังนั้นในการประเมินค่าทางพันธุกรรมจึงควรพิจารณาลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์

              ในสาวและแม่โคเป็นลักษณะที่แตกต่างกันแต่มีความเกี่ยวข้องกัน



              ค าส าคัญ : พารามิเตอร์ทางพันธุกรรม ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์โคนมลูกผสม ประเทศไทย

              เลขทะเบียนวิจัย : 54(1)-(54:03)0208-026
              1/  ส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ต. บางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
              2/  กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
              3/  ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002


                                                            1
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16