Page 14 - BBLP ejournal2018.docx
P. 14

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                     แนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์สามารถด าเนินการได้โดยการปรับปรุงการจัดการ

              เลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม แต่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้านหนึ่งคือการปรับปรุงทางด้านพันธุกรรมใน

              ประเทศไทยยังไม่มีการน าค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์มาใช้ในการคัดเลือกอย่าง

              ชัดเจน อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องมือหรือค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมที่ใช้ในการคัดเลือกของลักษณะนี้ยังมี
              ไม่เพียงพอ หรือถ้ามีก็ด าเนินการในสถานีด้วยชุดข้อมูลขนาดเล็ก (วิชัย และคณะ, 2548; Pongpiachan et

              al., 2003; König et al., 2005; Sivichai and Chongkasikit, 2011)

                     การศึกษาค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม (ค่าอัตราพันธุกรรม ค่าอัตราซ ้า และค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง

              ลักษณะ) ส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมจะช่วยให้ทราบถึงลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

              ความสัมพันธ์ร่วมระหว่างลักษณะ และศักยภาพในการคัดเลือกทางพันธุกรรม เกษตรกรหรือผู้ผลิตเห็นถึง

              โอกาสในการพัฒนาทางพันธุกรรม ความส าคัญของการจัดเก็บข้อมูล และการประเมินสถานการณ์ทาง

              พันธุกรรมเพื่อยกระดับความสัมฤทธิ์ผลทางธุรกิจการเลี้ยงโคนม การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
              ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม (ค่าอัตราพันธุกรรม ค่าอัตราซ ้า และค่าสหสัมพันธ์) ของลักษณะ

              ความสมบูรณ์พันธุ์ที่ส าคัญด้วยโมเดลตัวสัตว์แบบวิเคราะห์ทีละลักษณะ (Univariate analysis) และแบบ

              วิเคราะห์ร่วมสองลักษณะ (Bivariate analysis) ทั้งโคสาวและแม่โคของประชากรโคนมลูกผสมในประเทศ

              ไทยและเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่มีข้อมูลไม่ต่อเนื่องด้วย

              Threshold animal model (TAM) กับ Linear animal model (LAM)



                                                      วิธีการศึกษา

              ข้อมูลและการจัดการข้อมูล

                     ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลรายตัวของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียนจากฟาร์มของ

              เกษตรกรที่ได้รวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลของส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ซึ่ง

              เป็นข้อมูลพันธุ์ประวัติ ข้อมูลผสมเทียมที่ได้จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผสมเทียมทั่วประเทศเริ่มตั้งแต่
              ข้อมูลการผสมเทียม การตรวจท้อง และการติดตามลูกเกิด (การคลอดลูก) ในช่วงปี พ.ศ.2545-2558

                     ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่ศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย อายุเมื่อผสมเทียมครั้งแรก (Age at first

              service, AFS) อายุเมื่อคลอดลูกครั้งแรก (Age at first calving, AFC) การผสมติดครั้งแรก (conception at

              first service, FSC) การตั้งท้องภายใน 56 วันหลังผสมเทียมครั้งแรก (Pregnancy within 56d, P56) และ

              การตั้งท้องภายใน 90 วันหลังผสมเทียมครั้งแรก (Pregnancy within 90d, P90), DTFS, DFTC, DO, CI

              และ NSPC

                     NSPC, FSC, P56 และ P90 เป็นลักษณะที่มีข้อมูลแบบกลุ่มหรือแบบล าดับขั้น ขณะที่ AFS, AFC,
              DTFS, DFTC, DO และ CI เป็นลักษณะที่มีข้อมูลแบบช่วงหรือแบบต่อเนื่อง ลักษณะที่บันทึกตั้งแต่เกิดถึง



                                                            4
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19