Page 13 - BBLP ejournal2018.docx
P. 13

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                                                          ค าน า

                     ในการเลี้ยงโคนมลักษณะที่ก าหนดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจนอกจากลักษณะการให้ผลผลิต และ

              ลักษณะรูปร่าง ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่หลายประเทศได้ให้ความสนใจกันมากขึ้น

              เรื่อยๆ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและผลก าไรที่จะได้รับ โคนมที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ดี
              จะมีต้นทุนการผลิตน ้านมที่ต ่ากว่าโคนมที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ด้อยกว่า (Groen et al., 1998) เนื่องจาก

              ต้นทุนค่าน ้าเชื้อพันธุ์ที่ผสมซ ้าหลายครั้งต้นทุนค่ารักษาพยาบาล และต้นทุนที่เกิดการคัดทิ้งโคก่อนเวลาอัน

              ควรแบบไม่ได้ตั้งใจลดลง เกษตรกรมีรายได้จากการขายผลผลิตน ้านมที่เพิ่มขึ้นจากจ านวนวันให้นมตลอด

              ช่วงชีวิต และระยะเวลาของการให้นมของโคนมที่เพิ่มขึ้น (Dekkers, 1991)

                     โดยทั่วไปลักษณะที่ใช้ประเมินความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมจะเป็นลักษณะที่สะท้อนถึงความสามารถ

              ที่โคจะกลับมาเป็นสัดหลังคลอด: ช่วงห่างจากคลอดถึงการผสมเทียมครั้งแรก (Days from calving to first

              service, DTFS), ความสามารถในการตั้งท้อง:อัตราการไม่กลับสัดจากการผสมครั้งแรก (Non return rate,

              NR), ช่วงห่างระหว่างการผสมเทียมครั้งแรกและครั้งสุดท้าย (Days from first service to conception,

              DFTC), อัตราการผสมติด (Conception rate, CR), จ านวนครั้งการผสมเทียมต่อการผสมติด (Number of
              service per conception, NSPC) และเป็นการรวมกันของลักษณะข้างต้น: ช่วงห่างการคลอดลูก (Calving

              interval, CI) และช่วงห่างจากคลอดถึงผสมติด (Days from calving to conception or Days open, DO)

                     การปรับปรุงพันธุ์โคนมในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 60 ปี โดย

              มุ่งเน้นการให้ผลผลิตน ้านมเป็นหลัก ด้วยการน าพันธุกรรมโคนมสายพันธุ์ในเขตอบอุ่น เช่น เรดเดน บราวน์

              สวิส เจอร์ซี่ และโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน เป็นต้น มาผสมข้ามพันธุ์แบบยกระดับสายเลือด (Up grading) กับแม่

              โคพันธุ์พื้นเมือง และลูกผสมบราห์มันxพื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุกรรมของโคนมพันธุ์โฮลสไตน์

              ฟรีเชี่ยนซึ่งมีความดีเลิศด้านการให้ผลผลิตน ้านม และขนาดล าตัวใหญ่ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ได้
              ด าเนินการผ่านระบบการคัดเลือกพ่อพันธุ์ และการผสมพันธุ์ของประเทศเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ท าให้

              ประชากรโคนมส่วนใหญ่มีสายเลือดโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนมากกว่า 87.50% ขึ้นไป (กรมปศุสัตว์,

              2558)

                     อย่างไรก็ตามการคัดเลือกโดยการเพิ่มปริมาณน ้านมเพียงอย่างเดียวอย่างต่อเนื่องส่งผลท าให้

              สมรรถภาพทางระบบสืบพันธุ์ลดลง (Pryce and Veerkamp, 2001) กล่าวคือ ท าให้แม่โคนมมีอัตราการ

              ผสมติดจากการผสมครั้งแรกลดต ่าลง และมีจ านวนครั้งต่อการผสมติดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ช่วงห่างการให้ลูก

              ยาวขึ้น (Nebel and McGiliard, 1993; Bagnato and Oltenacu,1994) ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะปริมาณน ้านม

              และลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์มีสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในทางตรงกันข้าม (Roxstrom et al., 2001; Liu

              et al., 2008) การพิจารณารวมเอาลักษณะความสมบูรณ์ไว้ในเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์เพื่อที่จะท าให้การ
              ปรับปรุงทางพันธุกรรมโคนมที่เหมาะสมจึงมีความจ าเป็น



                                                            3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18