Page 116 - BBLP ejournal2018.docx
P. 116
วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
Table 1 Pregnancy rate result of two estrus synchronization programs.
Experimental groups n Pregnant (n) Pregnancy rate (%)
CIDR-B 53 11 20.75
Ovsynch 55 23 41.82
Chi-square statistic = 5.55
การทดลองนี้ พบว่ากลุ่มที่ใช้ CIDR-B มีอัตราการตั้งท้อง 20.75% (11/53) ซึ่งต ่ากว่าการศึกษาของ
อภิรักษ์และคณะ (2545) ที่เหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือปลักด้วย CIDR-B พบว่า แม่กระบือมีอัตราผสม
ติด 30% (12/40) และ Carvalho et al. (2013) รายงานอัตราการตั้งท้องในกระบือแม่น ้าเมื่อใช้วิธีเดียวกัน
โดยใส่ในช่องคลอดนาน 8 และ 9 วัน มีอัตราการตั้งท้องเป็น 42.7% (47/110) และ 50.6% (56/110)
ตามล าดับ ขณะที่กลุ่มที่ใช้โปรแกรม Ovsynch มีอัตราการตั้งท้อง 41.82% (23/55) สูงกว่ากลุ่มที่ใช้ CIDR-
B อย่างมีนัยส าคัญ ใกล้เคียงกับ Chaikhun et al. (2010) ที่เหนี่ยวน าการเป็นสัดในแม่กระบือปลัก ด้วยวิธี
เดียวกันพบว่ามีอัตราการตั้งท้อง 42.9% (15/35) จากผลการทดลองกลุ่มที่เหนี่ยวน าด้วย CIDR-B มีอัตรา
การตั้งท้องที่ต ่ากว่ากลุ่มที่ใช้ Ovsynch นั้น อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน CIDR-B สามารถ
เหนี่ยวน าให้กระบือแสดงอาการเป็นสัดแต่อาจไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นก็เป็นไปได้ เทียบเคียงกับการศึกษา
ของ เอกชาติ และคณะ (2549) ที่พบว่ากระบือปลักที่เหนี่ยวน าด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิดฝังหูเป็น
เวลา 10 วัน ร่วมกับฮอร์โมน PGF 2α มีการตกไข่เพียง 9.1% (1/11) ขณะที่โปรแกรม Ovsynch นั้นมีการใช้
GnRH ท าให้ฟอลลิเคิลมีการเจริญและมีการตกไข่เกิดขึ้น สามารถก าหนดเวลาผสมเทียมได้โดยไม่ค านึงว่า
กระบือนั้นจะแสดงอาการเป็นสัดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งโปรแกรม Ovsynch นี้ ดัดแปลงมาจากการศึกษาวิจัยใน
โคนม ( Wiltbank and Pursley, 2014) สอดคล้องกับรายงานของ ธัชฎาพร และคณะ (2551) ที่ใช้โปรแกรม
Ovsynch ในกระบือปลักพบว่า กระบือปลักจ านวน 7 ตัว (100%) ตกไข่ชั่วโมงที่ 24-32 ใกล้เคียงกับ
รายงานของวินัยและคณะ (2550) ที่ใช้โปรแกรม Ovsynch ในกระบือปลักที่มีความสมบูรณ์ต ่า พบว่ากระบือ
จ านวน 5 ตัวมีการตกไข่ 100% แสดงว่าการใช้โปรแกรม Ovsynch ในกระบือปลักในการศึกษาครั้งนี้มีผล
ให้กระบือมีการตกไข่ และเมื่อผสมในช่วงเวลาที่เหมาะสม น่าจะมีส่วนให้น ้าเชื้อสามารถปฏิสนธิกับไข่ที่ตก
ลงมาได้ จึงท าให้โปรแกรม Ovsynch มีอัตราการตั้งท้องสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ CIDR-B นอกจากนี้ พบว่ามีหลาย
ปัจจัยที่มีส่วนท าให้การเหนี่ยวน าการเป็นสัดประสบผลส าเร็จ อาทิเช่น ควรท าการเหนี่ยวน ากระบือในช่วง
ฤดูกาลที่กระบือมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี มีการจัดการที่เหมาะสม สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีคะแนนร่างกาย
ดี การเหนี่ยวน าการเป็นสัดควรท าในแม่กระบือที่ผ่านการมีลูกมาแล้ว ผสมเทียมโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความ
ช านาญกระบือควรมีฟอลลิเคิลที่มีการเจริญที่เหมาะสม ไม่มีขนาดเล็กเกินไปจะท าให้การพัฒนาไปเป็นคอร์
ปัสลูเตียมไม่สมบูรณ์ หรือหากฟอลลิเคิลมีอายุหลายวันแล้วตกไข่ ไข่ที่ได้ก็จะมีความสมบูรณ์ต ่า ท าให้การ
ปฏิสนธิหรือพัฒนาเป็นตัวอ่อนต่อไปไม่ดีนัก และก่อนการเหนี่ยวน าควรมีการตรวจรังไข่ด้วยเครื่อง
106