Page 111 - BBLP ejournal2018.docx
P. 111

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                                 ผลของการเหนี่ยวน าการเป็นสัดต่ออัตราการตั้งท้องในกระบือปลัก


                                                                                       3/
                                                                       2/
                                                           1/
                                               1
                                 กฤษฎากร ปาวงศ์  สมพิศ รักงาม  อภิชัย พูนชัย  วรวิชญ์ วราอัศวปติ

                                                         บทคัดย่อ
                     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตั้งท้องจากการเหนี่ยวน าการเป็นสัดสองโปรแกรม
              ระหว่างโปรแกรมที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน CIDR-B ร่วมกับฮอร์โมน PGF 2α และโปรแกรม Ovsynchใช้แม่กระบือปลัก

              จ านวน 108 ตัว แบ่งแม่กระบือออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่ม CIDR-B) กระบือจ านวน 53 ตัว เหนี่ยวน าการเป็นสัดด้วย

              ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR-B) สอดไว้ในช่องคลอดเป็นเวลา 10 วัน ฉีดฮอร์โมน PGF 2α ขนาด 500 µg ก่อนถอด
              ฮอร์โมน CIDR-B 1 วัน ผสมเทียมจ านวนสองครั้งในชั่วโมงที่ 60 และ 72 หลังถอดฮอร์โมน CIDR-B กลุ่มที่ 2 กระบือ

              จ านวน 55 ตัว (กลุ่ม Ovsynch) เหนี่ยวน าการเป็นสัดโดยฉีดฮอร์โมน GnRH ขนาด 10 µg ในวันแรก ฉีดฮอร์โมน PGF 2α
              ขนาด 500 µg ในวันที่ 7 และฉีดฮอร์โมน GnRH ขนาด 10 µg ในอีกสองวันถัดมา ผสมเทียมสองครั้งในชั่วโมงที่ 12 และ

              24 หลังจากฉีดฮอร์โมน GnRH เข็มที่สอง ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ CIDR-B มีอัตราการตั้งท้อง 20.75% (11/53) ต ่ากว่า
              กลุ่ม Ovsynch ที่มีอัตราการตั้งท้อง 41.82% (23/55) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าอัตรา

              การตั้งท้องจากการเหนี่ยวน าการเป็นสัดจากโปรแกรม Ovsynch มีค่าสูงกว่าโปรแกรม CIDR-B





















              ค าส าคัญ : การเหนี่ยวน าการเป็นสัดกระบือปลักอัตราการตั้งท้อง

              เลขทะเบียนวิจัย : 57(1) - 0208 - 024

              1/  ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพนครราชสีมา ส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
              2/  ศูนย์วิจัยและผลิตน ้าเชื้อสุกรราชบุรีส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

              3/  ส านักงานปศุสัตว์เขต 2 กรมปศุสัตว์


                                                           101
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116