Page 113 - BBLP ejournal2018.docx
P. 113
Journal of Biotechnology in Livestock Production
ค าน า
การเลี้ยงกระบือในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงกระบือ
ปลัก ส่วนกระบือแม่น ้าจะพบการเลี้ยงในบางพื้นที่เท่านั้น ปัจจุบันจ านวนกระบือภายใน ประเทศมีจ านวน
ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต ทั้งนี้เนื่องจากกระบือถูกน าไปบริโภคมากกว่าการผลิต เกษตรกรบางส่วน
เลิกเลี้ยงกระบือเพราะมีการใช้รถไถขนาดเล็กแทนแรงงานของกระบือ พื้นที่ส าหรับใช้เลี้ยงกระบือมีจ านวน
ลดลง การขาดแคลนพ่อพันธุ์กระบือที่ดี เป็นต้น ในส่วนของการขยายพันธุ์กระบือนั้นมีทั้งการใช้พ่อพันธุ์
ผสมและน ้าเชื้อพ่อพันธุ์ดีจากการผสมเทียม ซึ่งการผสมเทียมนี้กรมปศุสัตว์ ใช้เป็นวิธีหนึ่งในการปรับปรุง
พันธุ์กระบือในประเทศ (กรมปศุสัตว์, 2545) สามารถผสมเทียมกระบือได้ทั้งจากกระบือที่เป็นสัดเองโดย
ธรรมชาติและเป็นสัดจากการเหนี่ยวน าด้วยฮอร์โมน เนื่องจากกระบือจะแสดงอาการเป็นสัดไม่ชัดเจน
เหมือนโค การจับสัดท าได้ยาก ท าให้มีปัญหาเกี่ยวกับการก าหนดเวลาเพื่อผสมเทียมตามมา (EI-Wishy,
2007; Perera, 2011) จากปัญหาการเป็นสัดไม่ชัดเจนดังกล่าว จึงมีผู้พยายามศึกษาการใช้ฮอร์โมน
โปรแกรมต่างๆมาใช้เหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือ เพื่อให้การผสมเทียมกระบือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งมี
ทั้งการใช้ฮอร์โมน GnRH ร่วมกับ PGF 2α ในโปรแกรม Ovsynch (ธัชฎาพร, 2551) หรือโปรแกรมการใช้
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน CIDR-B สอดไว้ในช่องคลอดร่วมกับ PGF 2α เป็นต้น(Singh, 2003) ซึ่งพบว่าให้ผล
อัตราการผสมติดที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น อภิรักษ์และคณะ (2545) ได้ทดลองเหนี่ยวน าการเป็นสัดใน
กระบือปลักด้วยฮอร์โมน CIDR-B พบว่ากระบือมีอัตราการผสมติดเฉลี่ย 27.14% Gianlucaet al. (2003)
ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในรูป PRID เหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือแม่น ้าและผสมเทียมในชั่วโมงที่ 60
และชั่วโมงที่ 84 หลังจากถอดฮอร์โมนพบว่ามีอัตราการผสมติด 30.3% ธัชฎาพร (2551) ได้ใช้โปรแกรม
Ovsynch เหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือปลัก พบว่ามีอัตราการผสมติด 34.6% (18/52)
จากรายงานการศึกษาดังกล่าวข้างต้นพบว่าโปรแกรม Ovsynch และการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ชนิดสอดช่องคลอดสามารถใช้เหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามจากการศึกษา
เกี่ยวกับการเหนี่ยวน าการเป็นสัดในกระบือปลักยังให้ผลที่แตกต่างกันและมีอัตราการตั้งท้องที่ยังไม่สูงมาก
นัก ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลการตั้งท้องจากการเหนี่ยวน าการเป็นสัด
จากสองโปรแกรมในกระบือปลัก ซึ่งผลที่ได้จากการทดลองจะน าไปใช้เป็นแนวทางในการเหนี่ยวน าการเป็น
สัดในกระบือปลักของเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตั้ง
ท้องจากการเหนี่ยวน าการเป็นสัดสองโปรแกรมในกระบือปลัก ระหว่างโปรแกรมที่ใช้โปรเจสเตอโรน CIDR-
B ร่วมกับฮอร์โมน PGF 2α และโปรแกรม Ovsynch
103