Page 108 - BBLP ejournal2018.docx
P. 108

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



              ต่ออัตราการผสมติดในขณะที่แพะนางเป็นแพะที่เคยให้ลูกมาแล้วและเป็นแพะที่มีระบบสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์

              เต็มที่

                     อิทธิพลของความสมบูรณ์ร่างกายแม่พันธุ์ขณะท าผสมเทียมจากการศึกษาครั้งนี้ ความสมบูรณ์

              ร่างกายแม่พันธุ์ขณะท าผสมเทียม ไม่มีผลท าให้อัตราการผสมติดแตกต่างกัน สอดคล้อง ประชารัก (2557)
              และ มาลี และคณะ (2556) พบว่าคะแนนร่างกายแพะไม่มีผลต่ออัตราการผสมติดตั้งท้องทั้งนี้

                     อิทธิพลของการแสดงอาการเป็นสัดในแพะที่เป็นสัดธรรมชาติจะมีอัตราการผสมติดตั้งท้องสูงกว่า

              แพะที่เหนี่ยวน าการเป็นสัด มีค่าร้อยละ 41.9 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับอัตราการผสมติดกับการศึกษาอื่นที่ท าการ

              เหนี่ยวน าการเป็นสัดในแพะ มีการใช้ฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป ที่อาจส่งผลต่ออัตราการผสมติดที่แตกต่าง

              กัน เช่นการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับ PGF 2α และ PMSG ในการผสมเทียมแบบก าหนดเวลา

              พบว่ามีอัตราการผสมติดที่ร้อยละ 52 (นิวัตน์และคณะ 2550) การใช้ CIDR® และ Chornogest ในการ

              เหนี่ยวน าการเป็นสัดและผสมเทียมในแพะพบว่ามีอัตราการผสมติดเท่ากับร้อยละ 39.9-43.1ในขณะที่

              อภิชัยและคณะ (2553) ในขณะที่แพะเป็นสัดธรรมชาติมีอัตราการผสมติดสูงถึงร้อยละ 54.1 โดยทั่วไปการ

              แสดงอาการเป็นสัดตามธรรมชาตินั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสมบูรณ์ของแพะในวงรอบการเป็นสัดใน
              ระดับหนึ่ง แต่ในแพะที่ใช้การเหนี่ยวน าการเป็นสัดด้วยฮอร์โมนแพะที่แสดงอาการเป็นสัดเกิดจากอิทธิพล

              ของฮอร์โมนซึ่งไม่ได้หมายความว่าแพะตัวดังกล่าวจะมีความพร้อมในการผสมพันธุ์ทั้งหมด แต่เนื่องจาก

              เกษตรกรมีความประสงค์จะท าการผสมเทียมพร้อมกันครั้งละหลายๆตัว ท าให้แม่แพะบางตัวระบบสืบพันธุ์

              อาจจะยังไม่พร้อม จึงส่งผลให้อัตราการผสมติดตั้งท้องจากการศึกษาในครั้งนี้ ต ่ากว่าแม่แพะที่เป็นสัดตาม

              ธรรมชาติ แตกต่างจากการศึกษาของ Stanimir และคณะ 2016 ที่รายงานว่า แม่แพะที่ได้รับการเหนี่ยวน า

              การเป็นสัดมีอัตราการผสมติดสูงกว่าแม่แพะที่เป็นสัดตามธรรมชาติ (33.3 และ 58.3 เปอร์เซ็นต์ตามล าดับ)

              โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลาการเป็นสัดของแพะมีความผันแปรมาก จาก 24 ถึง 48 ชั่วโมง และเวลาตกไข่ก็

              สามารถเกิดขึ้นห่างกัน 9 ถึง 37 ชั่วโมง หลังแสดงการเป็นสัด ท าให้การผสมเทียมธรรมชาติ อาจจะไม่

              สัมพันธ์กับการตกไข่ ยกเว้น จะท าผสมเทียมหลายครั้งทุก 12 ชั่วโมงจนกว่าหมดสัด
                     อิทธิพลของระดับความลึกในการสอดปืนฉีดน ้าเชื้อเข้าคอมดลูกมีผลต่ออัตราการผสมติดจากการ

              ผสมเทียมแพะด้วยน ้าเชื้อแช่แข็ง โดยกลุ่มที่สอดปืนฉีดน ้าเชื้อเข้าคอมดลูกน้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร มีอัตรา

              การผสมติดตั้งท้องต ่ากว่ากลุ่มที่สอดปืนฉีดน ้าเชื้อเข้าคอมดลูกกลุ่มเปรียบเทียบ (มากกว่า 3 เซนติเมตร)

              ส่วนกลุ่มที่สอดปืนฉีดน ้าเชื้อเข้าคอมดลูก 1.5-3 เซนติเมตรไม่แดกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งแสดงให้เห็น

              ว่าความลึกในการสอดปืนผสมเทียมเข้าไปในคอมดลูกมีผลท าให้การผสมติดตั้งท้องในการท าผสมเทียมดี

              ขึ้น สอดคล้องกับ Salvador และคณะ (2005) ที่ท าการศึกษาในแพะพันธุ์ Murciano-Granadina (MG)

              พบว่า ความลึกในการสอดปืนเพื่อปล่อยน ้าเชื้อเข้าไปในคอมดลูกท าให้การผสมติดสูงขึ้น





                                                           98
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113