Page 38 - BBLP ejournal2018.docx
P. 38

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



              (2006) ที่พบว่า โคนมที่คลอดลูกครั้งแรกมีค่า DTFS และ DO สูงกว่า โคนมที่คลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง ซึ่ง
              อาจเป็นผลมาจาก โคนมที่คลอดลูกครั้งแรกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีการสูญเสียน ้าหนักหลังคลอดมาก

              ในขณะที่มีความต้องการพลังงานไปใช้ในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตน ้านมมาก (Lucy, 2001;
              Punyapornwithaya and Teepatimakorn, 2004)


              Table 3 Least square mean and standard error for first service conception rate (FSC; % ) , number

                       of service per conception (NSPC; times), day to first service (DFS; days)   and day open
                       (DO; days) by lactation number (Lact)

                Lactation number       FSC (%)        NSPC (times)      DFS (days)         DO (days)
                     Lact 1          0.33 ± 0.02       2.59 ± 0.10     104.28 ± 2.06 c   196.52 ± 5.92 b

                     Lact 2          0.39 ± 0.02       2.49 ± 0.07     101.44 ± 1.60 c   189.58 ± 4.44 b
                      Lact 3         0.41 ± 0.03       2.43 ± 0.14      93.89 ± 2.66 b   169.87 ± 7.38 a

                     Lact 4          0.47 ± 0.06       2.33 ± 0.23     87.55 ± 4.33 ab   165.61 ± 6.99 a
                     Lact 5          0.49 ± 0.09       2.17 ± 0.36      80.06 ± 6.81 a   152.23 ± 9.13 a

                    p - value          p = 0.39         p = 0.93          p = 0.03         p = 0.04

              a, b, c   Least square mean with the same superscripts letters within row differ significantly at             p
                    < 0.05

                     ส าหรับ FSC และ NSPC ถึงแม้ว่า ความแตกต่างของล าดับการคลอดลูกจะไม่มีอิทธิพลต่อความ
              ผันแปรของลักษณะดังกล่าวอย่างมีนัยส าคัญ (p > 0.05) ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแบบลีสแควร์ที่

              ประมาณได้ดังแสดงใน Table 3 พบว่า FSC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อโคนมมีล าดับการคลอดที่เพิ่มขึ้น
              ในขณะที่ NSPC มีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับการศึกษาของ วรกร และจิรวรรณ (2554) ในลูกผสม

              โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 75% (Thai Milking Zebu; TMZ) ที่ผสมรักษาระดับสายเลือดในชั่วอายุที่ 2 ที่พบการ
              ลดลงของ NSPC เมื่อโคนมมีล าดับการคลอดลูกเพิ่มขึ้น


              อิทธิพลของอายุเมื่อคลอดลูก

                     อายุเมื่อได้คลอดลูกที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความผันแปรของ DTFS และ DO อย่างมีนัยส าคัญ
              (p < 0.05) โดยพบว่า โคนมจะมี DTFS และ DO เพิ่มขึ้น เมื่อโคนมมีอายุเมื่อคลอดลูกเพิ่มขึ้น (Table 2)

              สอดคล้องกับรายงานลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ของประเทศไทย ที่รายงาน
              แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ DTFS และ DO เมื่อโคนมมีอายุเมื่อคลอดลูกเพิ่มขึ้น (สายัณห์ และคณะ, 2559)

              และได้ผลเป็นในทิศทางเดียวกับผลการศึกษาของ Zavadilova and Stipkova (2013) ที่พบว่า เมื่อโคนมมี
              อายุเมื่อคลอดลูกเพิ่มขึ้น จะมี DTFS และ DO เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของ DTFS และ DO เมื่อแม่โคมีอายุ

              เพิ่มขึ้น อาจเป็นผลมาจาก เมื่อแม่โคมีอายุมากขึ้นก็มักจะประสบปัญหาด้านโรคทางระบบสืบพันธุ์
              ความเครียดจากการให้ผลผลิตน ้านมสูง ตลอดจนการตัดสินใจไม่ผสมพันธุ์แม่โคในขณะที่ให้ผลผลิตน ้านม

              สูงของเกษตรกร (Marti and Funk, 1994)



                                                           28
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43