Page 43 - BBLP ejournal2018.docx
P. 43

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                           อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมส าหรับลักษณะการให้ผลผลิตน ้านม
                              ของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย


                                                             1
                                              สมศักดิ์  เปรมปรีดิ์   เริงวุฒิ  วรวุฒิ
                                                                          2

                                                         บทคัดย่อ
                     ข้อมูลพันธุประวัติ และข้อมูลลักษณะปรากฏของโคนมจ านวน 3,110 ตัว ที่คลอดลูกครั้งแรกระหว่างปี พ.ศ.2543
              ถึง 2559 ในฟาร์มเกษตรกรจ านวน 428 ฟาร์ม ในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย ถูกน ามาทดสอบอิทธิพลร่วมระหว่าง

              พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณผลผลิตน ้านมรวมที่ 305 วัน (M305) กลุ่มการจัดการที่ใช้ในการเปรียบเทียบเป็น
              ฟาร์ม-ปี-ฤดูกาลที่คลอดลูกซึ่งมีความสัมพันธ์กันผ่านทางพ่อพันธุ์ ลักษณะ M305 ที่ปรากฏภายใต้สภาพภูมิประเทศ และ
              รูปแบบการจัดการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันจะถูกพิจารณาเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน โดยลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วย
              ที่ราบลุ่ม (FP) ที่ราบเชิงเขา (PM) และที่ราบชายฝั่งทะเล (CP) ส าหรับรูปแบบการจัดการเลี้ยงดู แบ่งเป็นแบบปล่อย (FS)
              และแบบผูกยืนโรง (TS) หุ่นจ าลองทางพันธุกรรมที่ใช้ในการศึกษา คือ multiple-traits sire model โดยพิจารณา อายุเมื่อ

              คลอดลูก กลุ่มพันธุ์ และระดับของเฮทเทอโรซีสเป็นปัจจัยก าหนด และมีกลุ่มการจัดการ พ่อพันธุ์แต่ละตัว และ residual
              effect เป็นปัจจัยสุ่มค่าองค์ประกอบความแปรปรวนจะถูกประมาณค่าด้วยวิธี AI-REML และน ามาประมาณค่าอัตรา
              พันธุกรรมและค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม การเกิดขึ้นของอิทธิพลร่วมและระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมนั้นพิจารณา
              จากค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่มีค่าน้อยกว่า 0.85 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างล าดับของสเปียร์แมนถูกน ามาใช้ในการ
              พิจารณาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถทางพันธุกรรม (มีค่าสหสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ 0.7) และ
              การเปลี่ยนแปลงล าดับ (มีค่าสหสัมพันธ์น้อยกว่า 0.7) ค่าอัตราพันธุกรรมส าหรับ M305 มีความแตกต่างกันไปในแต่ละ

              พื้นที่ (0.003 ± 0.001 ใน CP ถึง 0.195± 0.034 ใน FP) และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดู (0.090 ± 0.041 ส าหรับ FS ถึง
              0.136± 0.060 ส าหรับ TS) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะพื้นที่มีค่าระหว่าง - 0.99 (FP-CP) ถึง 0.99 (PM-
              CP) และมีค่า 0.19 (FS-TS) ส าหรับรูปแบบการเลี้ยงดู การเกิดขึ้นของอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมส่ง
              ผลกระทบทั้งการเปลี่ยนแปลงค่าและล าดับของพ่อพันธุ์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจ าเป็นในการประเมินและพิจารณา

              ค่าความสามารถทางพันธุกรรมที่มีความจ าเพาะต่อการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ และรูปแบบการจัดการเลี้ยงดู ของพ่อ
              พันธุ์แต่ละตัว











              ค าส าคัญ:  โคนม อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม การให้ผลผลิตน ้านม ประเทศไทย


              เลขทะเบียนผลงานวิชาการ: 60(2)-0208-037
              1  ส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์  จ.ปทุมธานี 12000
              2  ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี ต.หนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120

                                                           33
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48