Page 56 - BBLP ejournal2018.docx
P. 56

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                 แนวโน้มทางพันธุกรรมส าหรับลักษณะการให้ผลผลิตน ้านมและองค์ประกอบของน ้านมของโคนมลูกผสม
                                     โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย


                                                                          2
                                              เริงวุฒิ  วรวุฒิ    สมศักดิ์  เปรมปรีดิ์
                                                         1

                                                         บทคัดย่อ

                     ค่าอัตราพันธุกรรม และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ส าหรับลักษณะปริมาณผลผลิตน ้านม และองค์ประกอบ
              น ้านม ถูกประมาณค่าโดยใช้ข้อมูลพันธุประวัติ ปริมาณผลผลิตน ้านมรวมที่ 305 วัน (M305) เปอร์เซ็นต์ไขมันนม (PFAT)
              เปอร์เซ็นต์โปรตีนนม (PPRO) และเปอร์เซ็นต์ธาตุนมรวม (PTS) ของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน จ านวน 3,110 ตัว
              ที่คลอดลูก และให้ผลผลิตระหว่างปี 2543 ถึง 2559 ในฟาร์มเกษตรกร 428 ราย ในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย
              หุ่นจ าลองทางพันธุกรรมที่ใช้ในการศึกษา คือ multiple-traits animal model with repeated traits โดยพิจารณา กลุ่มการ

              จัดการที่ใช้ในการเปรียบเทียบ (ฟาร์ม-ปี-ฤดูกาลเมื่อคลอด) ล าดับการให้ลูก อายุเมื่อคลอดลูก กลุ่มพันธุ์ และระดับของ
              เฮทเทอโรซีสเป็นปัจจัยก าหนด และมีตัวสัตว์ permanent environment และ residual effect เป็นปัจจัยสุ่ม ค่าองค์ประกอบ
              ความแปรปรวนจะถูกประมาณค่าด้วยวิธี AI-REML และน ามาประมาณค่าอัตราพันธุกรรมและค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
              ระหว่างลักษณะ M305, PFAT, PPRO, และ PTS ค่าอัตราพันธุกรรมส าหรับลักษณะ M305, PFAT, PPRO, และ PTS มี
              ค่าเท่ากับ 0.129, 0.041, 0.102 และ 0.079 ตามล าดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะปริมาณผลผลิตน ้านม
              และค่าองค์ประกอบน ้านมมีค่าอยู่ในช่วง - 0.219 ส าหรับ M305-PTS ถึง -0.384 ส าหรับ M305-PFAT และค่าสหสัมพันธ์

              ทางพันธุกรรมระหว่างค่าองค์ประกอบน ้านมมีค่าอยู่ในช่วง 0.495 ส าหรับ PFAT-PPRO ถึง 0.989 ส าหรับ PFAT-PTS
              ค่าแนวโน้มทางพันธุกรรมส าหรับลักษณะ M305 ของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนในพื้นที่ภาคตะวันตก มีค่าเพิ่มใน
              อัตรา 7.61 กิโลกรัมต่อปี ในขณะที่ลักษณะองค์ประกอบน ้านมมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการปรับปรุงพันธุ์โดย
              พิจารณาคัดเลือกโคนมพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีความดีเด่นด้านลักษณะปริมาณการให้ผลผลิตน ้านมเพียงอย่างเดียว จะส่งผล
              กระทบต่อองค์ประกอบน ้านม ดังนั้นการสร้างดัชนีการคัดเลือกจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมส าหรับการคัดเลือกโคนมพ่อ-แม่

              พันธุ์ที่พันธุกรรมดีเด่นด้านลักษณะปริมาณผลผลิตน ้านม และองค์ประกอบน ้านมได้พร้อมกันอีกควบคู่ไปกับการปรับปรุง
              การจัดการเลี้ยงดู และการจัดการอาหารของเกษตรกร












              ค าส าคัญ: โคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน ค่าแนวโน้มทางพันธุกรรม ผลผลิตน ้านม องค์ประกอบของ  น ้านม

              เลขทะเบียนผลงานวิชาการ: 60(2)-0208-036

              1  ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี ต.หนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
              2  ส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์  จ.ปทุมธานี 12000


                                                           46
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61