Page 58 - BBLP ejournal2018.docx
P. 58

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                                                         ค าน า

                     ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้ให้ความส าคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน ้านมของโคนม
              ภายในฟาร์ม ทั้งในด้านปริมาณผลผลิตน ้านมและองค์ประกอบของน ้านม โดยเฉพาะองค์ประกอบของ

              น ้านม เนื่องจากถูกน ามาใช้เป็นเงื่อนไข และก าหนดราคาในการรับซื้อผลผลิตน ้านม โดยใช้มาตรฐาน
              คุณภาพน ้านมดิบที่ก าหนดโดยกรมปศุสัตว์ (2546) และส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร

              แห่งชาติ (มกอช.,2548) ทั้งนี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลผลิตน ้านมของโคนมภายในฟาร์ม นอกจาก
              การปรับปรุงการจัดการเลี้ยงดู และการจัดการด้านอาหารแล้ว การปรับปรุงพันธุกรรมของแม่โคนมภายใน

              ฟาร์มก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน ้านมทั้งด้านปริมาณผลผลิตน ้านม และ
              องค์ประกอบของน ้านม โดยเกษตรกรได้มีการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคนมที่มีพันธุกรรมดีเด่นทั้งด้านการให้ผล

              ผลิตน ้านม และองค์ประกอบน ้านมจากแหล่งพันธุกรรมต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุกรรมของโคนม
              ภายในฟาร์ม ซึ่งจากการพัฒนาพันธุกรรมของแม่โคนมมาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้โคนมในประเทศไทยมี

              ปริมาณผลผลิตน ้านมรวมที่ 305 วัน 3,927.38 ± 1,023.18 กิโลกรัม และให้ผลผลิตน ้านมที่มีไขมันนม 3.54
              ± 0.73 % และโปรตีนนม 3.12 ± 0.44 % (กรมปศุสัตว์, 2559)

                     ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศไทย จัดเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมที่มีขนาดใหญ่อีก
              พื้นที่หนึ่งของประเทศไทย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง และเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาและปรับปรุง

              พันธุกรรมโคนมในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประเมินแนวโน้มทางพันธุกรรมถือเป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งที่
              ใช้ประกอบการวางแผนและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการผลิตที่แสดงออกทางพันธุกรรม (genetic

              ability) ของโคนมในประชากร รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงในทางพันธุกรรมส าหรับการให้ผลผลิตสามารถ
              ชี้ให้เห็นถึงสภาวการณ์ที่เป็นผลมาจากการคัดเลือกโคพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อการผสมพันธุ์ในรุ่นก่อนหน้า (ศกร

              และคณะ, 2547) การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าแนวโน้มทางพันธุกรรมส าหรับการให้
              ผลผลิตน ้านม และองค์ประกอบของน ้านมของประชากรโคนมที่ได้รับการเลี้ยงดูภายใต้สภาพแวดล้อมของ

              ภาคตะวันตกของประเทศไทย เพื่อให้สามารถวางแผน และก าหนดแนวทางการปรับปรุงพันธุกรรมได้อย่าง
              เหมาะสม


                                                อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

                     ข้อมูลพันธุประวัติ ปริมาณผลผลิตน ้านมรวมที่ 305 วัน (M305) เปอร์เซ็นต์ไขมันนม (PFAT)
              เปอร์เซ็นต์โปรตีนนม (PPRO) และเปอร์เซ็นต์ธาตุนมรวม (PTS) ที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์ของ

              ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาและความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มพันธุกรรมที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ของโคนมลูกผสม

              โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน จ านวน 3,110 ตัว ที่คลอดลูกและให้ผลผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2559 ที่ได้รับการ
              เลี้ยงดูในฟาร์มเกษตรกรจ านวน 428 ราย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, เพชรบุรี และ
              ประจวบคีรีขันธ์ (Table 1) ที่รวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลของส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

              กรมปศุสัตว์ ฤดูกาลถูกจ าแนกเป็นฤดูร้อน (เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน) ฤดูฝน (เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม)

              และฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) และ โคที่คลอดลูกในฟาร์ม ปี และฤดูกาลเดียวกันถูกจัดให้
              อยู่ในกลุ่มการจัดการที่ใช้ในการเปรียบเทียบ (contemporary group) เดียวกัน



                                                           48
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63